มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ติดอันดับ 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ โดยมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ การแปลงแปลงวิถีการบริโภค และการมีชีวิตยืนยาวขึ้น แม้ว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ฯ ในระยะต้นจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการผ่าตัด แต่มักจะไม่มีอาการแสดงใดๆ ที่นำไปสู่การวินิจฉัย และรักษาทำให้ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ฯ ในประเทศไทยมากกว่ำร้อยละ 60 ตรวจพบโรคในระยะท้าย ซึ่งมีค่าใช้จ่ำยสูง รวมถึงมีอัตราการรอดชีพต่ำ ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่ฯ เป็นหนึ่งในมะเร็งไม่กี่ชนิดที่ป้องกันได้ด้วยการคัดกรองเพื่อหาความผิดปกติตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ความผิดปกตินี้มักพบในลักษณะของติ่งเนื้อ adenomas ซึ่งมีโอกาสกลายไปเป็นมะเร็งในที่สุด ดังนั้นหากตรวจพบ และกำจัดติ่งเนื้อออกไป ก็จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ฯ ได้ รวมถึงลดความสูญเสียต่อชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาหากตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้น กำรคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ฯ สามารถทำได้หลายวิธี วิธี่ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายมี 2 วิธี คือ การตรวจหาเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระ ด้วยชุดตรวจ fecal immunochemical test (FIT) และการส่องกล้อง colonoscopy ซึ่งถือเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ฯ
ทั้งนี้ของแนวคิดการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ฯ อย่างเป็นระบบในระดับประชากร ได้มีการดำเนินนโยบายคัดกรองไปแล้วในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีฐานะเศรษฐกิจดี และพบอุบัติการณ์สูง ในขณะที่ในประเทศไทยยังไม่เคยมีนโยบายการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ฯ ในระดับประชากรมาก่อน และไม่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของระบบประกันสุขภาพ นอกจากนี้ยังไม่ทราบว่ารูปแบบการคัดกรองที่เหมาะสมควรจะเป็นอย่างไร ประชากรเป้าหมายควรเป็นกลุ่มใด มีประโยชน์อย่างไร และมีความคุ้มค่าหรือไม่ จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาความคุ้มค่าของการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ฯ ในระดับประชากรไทย