logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คือการตั้งครรภ์และสิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนผู้หญิงอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ส่วนมากพุ่งเป้าไปที่วัยรุ่นอายุ 15-18 ปี ในปี 2552 พบแม่วัยรุ่นคลอดบุตร 123,000 คน หรือในวันหนึ่งมีแม่วัยรุ่นคลอดบุตร 336 คน ค่ารักษาพยาบาลวัยรุ่น 13-18 ปีด้วยโรคที่เกิดจากการตั้งครรภ์ มีมูลค่า 316 ล้านบาท ซึ่งสูงรองจากค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากอุบัติเหตุ

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพของแม่และลูกมากมาย

 

ปัญหาเรื่องการสร้างเสริมและป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในปัจจุบัน มีมาตการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นหลายมาตรการ โดยมีหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก แต่ยังขาดกลไกประสานเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน สมาคมครูแนะแนว องค์กรแพธ (PATH) องค์กรพัฒนาเอกชน (Non Governmental Organization-NGOs) และองค์กรด้านสื่อ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หน่วยบริการสาธารสุข หน่วยงานสนับสนุนในพื้นที่ และอื่นๆ

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารสุขและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกำลังเตรียมเสนอ ร่าง พรบ. คุ้มครองอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งหากมีกฎหมายฉบับนี้แล้ว จะมีกลไกคณะกรรมการระดับชาติที่จะเข้ามาทำหน้าที่เชื่อมโยง ประสานการทำงานระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และจะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการกำกับดูแลและสนับสนุนให้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ ในระยะยาวข้อเสนอจากโครงการวิจัยเน้นว่า ควรเร่งให้เกิดคณะกรรมการพัฒนางานอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ ตาม พรบ.คุ้มครองอนามัยเจริญพันธุ์ เพื่อให้มีกลไกระดับชาติทำงานเชื่อมโยง

20 ตุลาคม 2555

Next post > ปัญหาโภชนาการและพัฒนาการไม่เหมาะสม ของเด็ก 0-5 ปี

< Previous post ปัญหาที่พบบ่อยในศูนย์เด็กเล็ก

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ