logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 องศา

ฉบับวันที่: 11 สิงหาคม 2018

หนังสือน่าอ่าน: การรักษาต้องสงสัย???

Mr.Chu
ความรู้สามัญประจำบ้าน เพื่อให้รู้เท่าทันการรักษาทางการแพทย์ “Testing Treatments การรักษาต้องสงสัย” หนังสือที่จะทำให้ทุกท่านเข้าใจว่าการตรวจสอบวิธีการรักษา หรือการศึกษาทดลองเกี่ยวกับวิธีการรักษาต่างๆ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยากและใกล้ตัวกว่าที่คิด

“Testing Treatments การรักษาต้องสงสัย” ผู้แต่ง อิโมเจน อีแวนส์, เฮเซล ทอร์นตัน, เอียน ชาลเมอร์ส และพอล กลาสซิโอ ผู้แปล เบญจรินทร์ สันตติวงศ์ไชย จัดพิมพ์โดย โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ

หนังสือเล่มนี้ จะพาผู้อ่านไปสำรวจปัญหาที่เกิดเมื่อการแพทย์อิงตามความเชื่อ พร้อมยกตัวอย่างกรณีในอดีตที่ความเข้าใจผิดๆ นำไปสู่โศกนาฏกรรม สะท้อนข้อเท็จจริงว่าความรู้ด้านการแพทย์ก็พลาดได้ แต่โชคดีที่ยังมีคนตั้งข้อสงสัยจึงสามารถช่วยชีวิตคนได้อีกมาก โดยนำเสนอช่องโหว่ต่างๆ ที่ทำให้ความรู้ด้านการแพทย์เป็นสิ่งที่เราไม่ควรเชื่ออย่างสนิทใจจนไม่กล้าตั้งคำถาม เคยคิดหรือไม่ว่าคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง น่าจะเชื่อถือได้ เคยนึกไหมว่าแพทย์ต้องรู้แน่ว่าวิธีการรักษาใดดีต่อผู้ป่วยที่สุด และสิ่งที่แพทย์แนะนำให้ ผู้ป่วยใช้คงเหมาะสมที่สุดแล้ว ฯลฯ

“Testing Treatments การรักษาต้องสงสัย” กำลังบอกว่าความเข้าใจเหล่านี้ไม่ถูกต้องเสมอไป กล่าวคือ แพทย์และผู้ป่วยไม่ควรไว้วางใจวิธีการรักษาเหล่านั้นจนผู้ป่วยเสียโอกาส และไม่ควรใช้ทุกอย่างโดยปราศจากข้อสงสัย

และบางเรื่องเป็นการสูญเสียที่หลีกเลี่ยงได้ง่ายนิดเดียว เพียงแค่ “แพทย์” และ “ผู้ป่วย” นึกสงสัยสิ่งที่ตน “กำลังจะสั่งใช้” หรือ “กำลังจะได้รับ” เนื้อหาในหนังสือจะทำให้ทุกท่านเข้าใจว่าการตรวจสอบวิธีการรักษาหรือการศึกษาทดลองเกี่ยวกับวิธีการรักษาต่างๆ ไม่ได้เป็นยาขมเข้าใจยาก และผู้ป่วยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้

“Testing Treatments การรักษาต้องสงสัย” สำหรับฉบับภาษาอังกฤษเผยแพร่สู่สาธารณะเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2549 มีการปรับปรุงเนื้อหาทันยุคทันสมัย เผยแพร่ให้อ่านฟรีบนเว็บไซต์มียอดดาวน์โหลดสูงถึงกว่า 130,000 ครั้ง และมีการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากกว่า 15 ภาษา

สำหรับ “Testing Treatments การรักษาต้องสงสัย” ฉบับภาษาไทย ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.hitap.net หรือ Facebook : Hitapthailand

14 สิงหาคม 2561

Next post > กรมอนามัย เร่งพัฒนาทีมสหวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และการดูแลระยะยาว

< Previous post 10 ปี มีไม่ถึง 200 คน “นักวิจัย” ประเมินงานสร้างเสริมสุขภาพเชิงเศรษฐศาสตร์

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด