logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
จากต้นแบบสู่ทั่วประเทศ “ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่” ที่งานวิจัยสนับสนุนให้เพิ่มสิทธิ

ในหลายกรณีการตรวจพบโรคในระยะแรกสามารถเปลี่ยนความตายที่จะเกิดขึ้นให้เป็นการมีชีวิตที่ดีได้ “โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก” คือหนึ่งในกรณีเหล่านั้น และตอนนี้หลังประกาศเพิ่มชุดสิทธิตรวจคักรองดังกล่าวให้คนไทย โครงการดังกล่าวดำเนินการนำร่องในพื้นที่ต้นแบบเป็นผลสำเร็จและกำลังขยายต่อไปทั่วประเทศ

โครงการดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับงานวิจัย HITAP ในโครงการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในระดับประชากรที่มีการทำการศึกษาวิจัยในปี  โดยประเมินความคุ้มค่าของ 2 แนวทางการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่อเทียบกับการไม่คัดกรอง และผู้ป่วยมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งอยู่ในระยะลุกลามแล้ว โดยแนวทางดังกล่าวได้แก่ 1 การคัดกรองแบบปูพรมด้วยการตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระด้วยชุดตรวจ fecal Immunochemical test for hemoglobin (FIT) ในประชาชนทั่วไป หากพบผลเสี่ยงต้องรับการตรวจเพิ่มเติมด้วยการส่องกล้อง Colonoscopy และ 2 การคัดกรองด้วยการส่องกล้อง Colonoscopy ในกลุ่มเสี่ยงสูง คือมีญาติลำดับแรกเป็นมะเร็งลำไส้ผลการประเมินพบว่าทั้งสองแนวทางคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทย

สืบเนื่องจากงานวิจัยดังกล่าว คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบอร์ด สปสช. ได้บรรจุสิทธิประโยชน์คัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในปีงบประมาณ 2561 โดยพิจารณาให้คัดกรองในกลุ่มเสี่ยงอายุตั้งแต่ 50 – 70 ปีและมีประวัติครอบครัวเคยมีผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ ล่าสุดจึงเริ่มต้นโครงการนำร่อง นำนโยบายดังกล่าวลงไปโดยมีแนวทางคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักผ่าน 3 ขั้นตอนเริ่มจาก 1 การคัดกรองด้วยชุดตรวจ Fit ใน 2 เมื่อผลตรวจเป็นบวกจะมีการนัดส่องกล้องตรวจ Colonoscopy 3 หากพบชิ้นเนื้อจะมีการตัดไปพิสูจน์ก่อนทำการรักษา

จากรายงานของเว็บไซต์ Hfocus.org ล่าสุด มีการประชุมสนับสนุนคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในเขตสุภาพที่ 5 รวม 8 จังหวัดโดยมีนพ. พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 5, ทพ. อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และนพ. วีรศักดิ์ ครองลาภเจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครปฐม และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมโดยมีการเผยถึงผลการดำเนินโครงการที่ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมของการคัดกรอง ซึ่งเขตสุขภาพที่ 5 เริ่มต้นทำตั้งแต่ปี 2558 ก่อนที่การคัดกรองจะบรรจุเข้าในชุดสิทธิประโยชน์ โดยในปี 2559 มีการใช้งบประมาณราว 2 ล้านบาทเพื่อคัดกรองผู้ป่วยได้ 30,000 คน ขณะที่ในปี 2560 ยิ่งมีการคัดกรองมากขึ้น ทำให้พบผู้ป่วยมากขึ้นตาม

ผลที่เกิดขึ้นช่วยให้จากเดิมที่แพทย์จะพบผู้ป่วยมะเร็งในระยะ 3 หรือระยะ 4 ซึ่งรักษาได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่การตรวจคัดกรองช่วยให้พบผู้ป่วยระยะแรกและสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้มาก และช่วยชีวิตคนไทยได้มากขึ้น

ทั้งนี้ ผลจากการดำเนินการในเขตสุขภาพที่ 5 ช่วยเป็นต้นแบบในการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อสามารถนำไปใช้ทั่วประเทศในลำดับถัดไปได้ถือเป็นอีกมาตรการในการป้องกันด้านสาธารณสุขที่เกิดจากการทำงานของหลายฝ่ายร่วมกัน

ติดตามอ่านข้อเสนอแนะเชิงนโยบายได้ที่นี่ https://www.hitap.net/documents/164852 ติดตามอ่านรายละเอียดงานวิจัยทั้งหมดได้ที่นี่ https://www.hitap.net/research/17771

3 กรกฎาคม 2561

Next post > ถอดวิธีคิด “ลำดับความสำคัญในถ้ำหลวง” ต้นทุน – เวลาและการช่วยชีวิตกับนโยบายสุขภาพไทย

< Previous post 5 เหตุผลที่คุณควรอ่าน “การรักษาต้องสงสัย” ในยุค 4.0

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ