logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพจัดประชุมนานาชาติที่จังหวัดเชียงใหม่

เว็บไซต์ สวท.เชียงใหม่: http://region3.prd.go.th/ct/news/viewnews.php?ID=180509205615

สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพจัดประชุมนานาชาติ สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในทวีปเอเชีย ที่จังหวัดเชียงใหม่

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม HTAsiaLink Conference ครั้งที่ 7 ภายใต้หัวข้อ Testing Treatments: Strengthening HTA for Better Healthcare ระหว่างวันที่ 8 – 10 พฤษภาคม 2561 ที่โรงแรมเลอ เมอริเดียน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร นักวิจัย และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศกว่า 250 คน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในทวีปเอเชีย การสร้างความตระหนักของผู้กำหนดนโยบาย ผู้ประกอบวิชาชีพ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อความสำคัญของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพเพื่อให้เกิดการจัดลำดับความสำคัญและเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสมเหตุสมผล

การประชุมครั้งนี้ ยังเป็นโอกาสที่ประเทศไทย ซึ่งได้รับการยอมรับว่า มีขีดความสามารถในการพัฒนาระบบสุขภาพจนเป็นตัวอย่างแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาอื่น ๆ ในนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และการตัดสินใจเชิงนโยบายบนพื้นฐานของข้อมูลหลักฐาน

เทคโนโลยีด้านสุขภาพเกิดจากการรวบรวมความรู้และนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์ หัตถการ มาตรการ หรือโครงการ ที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค การรักษาโรค ความผิดปกติ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ เทคโนโลยีเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่เนื่องจากความหลากหลายของยา วัคซีน เครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงรวมถึงการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือกเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ

25 พฤษภาคม 2561

Next post > มะเร็งต่อมลูกหมากภัยเงียบที่ร้ายแรงในผู้ชายกับความหวังในการรักษา

< Previous post HITAP ร่วมกับ เครือข่ายนักวิจัยประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในทวีปเอเชีย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด