logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก “PSA” อาจให้โทษมากกว่า

การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันอาจเป็นเรื่องดีสำหรับคนรักสุขภาพ ทว่าบางครั้งการตรวจคัดกรองที่ไม่เหมาะสมก็ก่อผลเสียตามมา “ซีรีส์เรื่องที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับการรักษา” ขอเสนอการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก “PSA” การตรวจที่ให้โทษมากกว่าการรักษา

PSA หรือ Prostate-specific antigen เป็นเอ็นไซม์ชนิดหนึ่งที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของมะเร็งต่อมลูกหมาก จึงถูกนำมาใช้ในการวางแผนและติดตามประเมินผลการรักษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ได้มีการใช้ PSA สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก จนกระทั่งในภายหลังพบว่า ถึงแม้การตรวจคัดกรองด้วย PSA จะช่วยเพิ่มการวินิจฉัยมะเร็งระยะแรกอย่างชัดเจนส่งผลให้มีผู้ป่วยได้รับการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป แต่จำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้กลับไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ เพราะการคัดกรองทำให้เกิดการวินิจฉัยและรักษาคนไข้เกินความจำเป็น! เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากโดยทั่วไปเป็นมะเร็งที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยหลายรายจะไม่เสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้ การรักษาจึงไม่ได้ประโยชน์ ในทางตรงกันข้ามกลับเกิดโทษจากการวินิจฉัยเพิ่มเติมและการรักษา

นอกจากนี้ การตรวจคัดกรองด้วย PSA ไม่มีความจำเพาะต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก เอ็นไซม์ดังกล่าวอาจสูงขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ มีการหลั่งน้ำอสุจิ เป็นต้น ซึ่งหากผู้ป่วยมีค่า PSA ผิดปกติแพทย์มักตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ด้วยการตรวจชิ้นเนื้อ ส่งผลให้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ จากการวิจัยสรุปข้อเสียของการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย PSA ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

  • 1 ใน 8 ของผู้ชายที่ตรวจคัดกรองด้วย PSA ตลอดชีวิตจะได้รับผลบวกลวงคือพบความผิดปกติทั้งที่ไม่เป็นโรคมะเร็ง
  • ร้อยละ 76 ของชายเหล่านี้ได้ตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากแล้วพบว่าไม่ได้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ต้องคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย PSA กว่า 1,000 รายจึงป้องกันมิให้ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากตายได้ 1 ราย แต่ในทางตรงกันข้าม ในจำนวนคนที่เหลือ (999 คน) พบว่า กว่า 120 คนจะได้ผลบวกลวงและ 30 คนจาก 120 คนนี้ได้รับผลกระทบจากการวินิจฉัยและรักษาจนหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และอีก 20 คนกลายเป็นคนกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ อีก 2 คนเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดอย่างรุนแรง และ 1 รายที่ไม่ป่วยก็ต้องเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

จากข้อมูลทั้งหมดนี้ส่งผลให้ระบบประกันสุขภาพและสมาคมแพทย์เกือบทั้งหมดทั่วโลกไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากอีกต่อไป แต่เราก็ยังไม่วาย เห็นโรงพยาบาลในประเทศไทยเสนอบริการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากให้ชาย ไทยอย่างดาษดื่น

 

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ “เช็คระยะสุขภาพ : ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย” คลิ๊ก https://www.hitap.net/documents/18970

19 เมษายน 2561

Next post > เอ็กซเรย์ปอดหา “มะเร็งปอด – วัณโรค” ในคนทั่วไปอาจไม่พบแถมเสี่ยง

< Previous post สแกนสมองเมื่อเจ็บศีรษะ จำเป็น(ซะ)เมื่อไหร่?

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ