logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ประชุมผู้เชี่ยวชาญการประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของยา Bortezomib Thalidomide และ Lenalidomide

นักวิจัย HITAP นำเสนอผลการศึกษาวิจัย การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของยา Bortezomib Thalidomide และ Lenalidomide ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาวชนิดมัยอีโลมาที่กลับเป็นซ้ำหรือดื้อต่อการรักษา โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันอภิปรายและให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการวิจัย

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาโครงร่างวิจัยการประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของยา Bortezomib Thalidomide และ Lenalidomide ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาวชนิดมัยอีโลมาที่กลับเป็นซ้ำหรือดื้อต่อการรักษา โดยมีนายวิทธวัช พันธุมงคล นักวิจัยของโครงการฯ เป็นผู้นำเสนอความเป็นมาของการศึกษา วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงาน และผลการศึกษาการประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของยา Bortezomib Thalidomide และ Lenalidomide ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาวชนิดมัยอีโลมาที่กลับเป็นซ้ำหรือดื้อต่อการรักษา

โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาวชนิดมัยอีโลมาเป็นโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยพบได้ร้อยละ 1 ของมะเร็งทั้งหมดและพบเป็นร้อยละ 10 ของโรคมะเร็งโลหิตวิทยา ในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือมีภาวะกลับเป็นซ้ำหรือดื้อต่อการรักษาคิดเป็น 197 คนต่อปี สำหรับยาที่ใช้ในการรักษามีสูตรการรักษาที่หลากหลาย ปัจจุบันในประเทศไทยมีการบรรจุยา โดยเป็นยากลุ่มดั้งเดิม ได้แก่ Dexamethasone  อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว  แต่ยากลุ่มใหม่  (Novel agent)  ได้แก่    Bortezomib  Thalidomide  และ   Lenalidomide    ซึ่งมีประสิทธิผลมากขึ้นในขณะนี้ยังไม่ถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ จึงมีความต้องการข้อมูลด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของยา   Bortezomib   Thalidomide  และ  Lenalidomide    เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาบรรจุยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ จึงทำโครงการวิจัยดังกล่าวเพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และประเมินภาระงบประมาณของการใช้ยา Bortezomib Thalidomide และ Lenalidomide ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาวชนิดมัยอีโลมาที่กลับเป็นซ้ำหรือดื้อต่อการรักษา

ผลการศึกษาพบว่าการรักษาผู้ป่วยด้วยสูตรยา 3 ทางเลือกยังไม่มีความคุ้มค่าในบริบทของประเทศไทยเมื่อเทียบกับการรักษาด้วย high-dose dexamethasone การรักษาด้วยสูตรยา Bortezomib Thalidomide และ Lenalidomide จะมีความคุ้มค่าเมื่อราคายาลดลงร้อยละ 99 ร้อยละ 92 และร้อยละ 98 ตามลำดับ และการรักษาด้วยสูตรยา Bortezomib และ Lenalidomide ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก high-dose dexamethasone ประมาณ 157 ล้านบาท และ 394 ล้านบาท ตามลำดับ โดยภายหลังจากการนำเสนอผลการศึกษาผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันอภิปรายผลการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการวิจัยดังกล่าว และคาดว่าผลการศึกษาที่ได้จะสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติต่อไป

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitap.net/research/168378

17 พฤศจิกายน 2560

Next post > โมเดลโรคติดเชื้อ

< Previous post HITAP จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “Essential Statistics for Health Technology Assessment of Health Promotion Intervention”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด