logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ผู้ป่วยเบาหวาน 1 ใน 3 ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค คุณเป็นหนึ่งในนั้นหรือเปล่า

เบาหวานเป็นโรคร้ายเงียบ ร้ายลึก ถ้าคุณไม่ใส่ใจ คุณอาจเป็นหนึ่งในจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกปี วันเบาหวานโลก (World diabetes days) ซึ่งตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน จึงเกิดขึ้นเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงวิกฤติทั่วโลกไม่เว้นแม้ในประเทศไทยดตั้งโดยสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติและกรมอนามัยโลก ทั้งนี้ โรคเบาหวานทุกคนสามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

จากเอกสาร “เช็คระยะสุขภาพ : ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย” รวบรวมการตรวจคัดกรองสุขภาพที่คุ้มค่าสำหรับรัฐบาลในการจัดระบบตรวจคัดกรองฟรีให้ประชาชน โดยการคัดกรองโรคเบาหวานถือว่ามีความคุ้มค่า ขณะที่ในมุมของคนไทยการตรวจเบาหวานเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมก็ยังคงคุ้มค่า ทว่าคนทั่วไปยังไม่รับรู้ถึงความสำคัญนี้ส่งผลให้ในปี 2551 – 2552 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง 1 ใน 3 ที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวานมาก่อนเพราะโรคเบาหวานในระยะแรกนั้นจะไม่แสดงอาการ ทำให้หลายครั้งผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนอย่างเบาหวานขึ้นจอประสาทตา โรคไตจากเบาหวานหรือการสูญเสียเท้าจากโรคเบาหวาน การตรวจควบคุมระดับน้ำตาลช่วยลดและชะลอภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้

เกณฑ์ของผู้ที่ควรตรวจคัดกรองเบาหวาน ได้แก่ ผู้มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป วิธีการมาตรฐานในประเทศคือ การตรวจระดับน้ำตาลโดยการเจาะเลือดหลังงดอาหาร 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose หรือ FPG) เป็นประจำอย่างน้อยทุก 5 ปี แต่สำหรับผู้มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ทานยาลดความดัน ผู้ที่มีคนในครอบครัวสายตรง (พ่อ, แม่, พี่หรือน้อง) เป็นโรคเบาหวาน อายุเกิน 45 ปีขึ้นไปหรือผู้มีน้ำหนักเกิน สามารถเพิ่มความถี่ในการตรวจได้มากขึ้น

ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองสามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่วิธีที่ง่ายอย่างการตรวจด้วยเครื่องมือวัดระดับน้ำตาลด้วยตังเอง (Self – monitoring blood glucose หรือ SMBG) ที่มีอยู่ทั่วไปตามร้านขายยาซึ่งใช้วิธีเจาะเลือดที่ปลายนิ้วและทราบผลทันที แต่ยังมีผลคลาดเคลื่อนเมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานแต่การคุมอาหารในช่วงใกล้เจาะเลือดทำให้ผลตรวจเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ตรวจจึงไม่ควรงดแป้งก่อนตรวจแต่ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารอย่างถาวรแทน

ตอนนี้สถานพยาบาลในประเทศไทยบางแห่งมีการบรรจุ ‘การตรวจวัดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดซึ่งมีความแม่นยำ ใช้วิธีงดอาหารหลอกหมอไม่ได้ ในต่างประเทศยอมรับให้ใช้ผลตรวจนี้เพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวาน แต่ในประเทศไทยยังมีเงื่อนไขด้านคุณภาพและมาตรฐานจึงมักใช้ในลักษณะติดตามประเมินผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า การตรวจคัดกรองสามารถทำได้ไม่ยาก หากรู้ถึงปัญหาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะสามารถลดปัญหาบานปลายของโรคเบาหวานที่จะตามมาอีกมากมายมหาศาลได้

ทั้งนี้ ในแต่ละปีคนไทยมีความใส่ใจเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพก่อนเกิดโรคเพิ่มมากขึ้น นอกจากโรคเบาหวานแล้วยังมีอีกหลายโรคที่คุ้มค่าสำหรับรัฐบาลในการจัดตรวจคัดกรองฟรีให้กับประชาชน สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่เอกสาร “เช็คระยะสุขภาพ : ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย” คลิ๊ก     และตรวจสุขภาพผ่านเว็บไซต์ง่ายๆ ได้ที่นี่ http://www.mycheckup.in.th

14 พฤศจิกายน 2560

Next post > เบื้องลึกต้นทุนเครื่องมือแพทย์สุดแพง ‘ก้าว’ ต่อไปที่สังคมต้องรู้

< Previous post Horizon Scanning เปิดเรดาร์หาเทคโนโลยีด้านสุขภาพเกิดใหม่

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ