logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
จ่ายเงินซื้อคุณภาพบริการปฐมภูมิ แล้วประชาชนได้อะไร

หน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยพยาบาลแรกที่ให้บริการประชาชน

ถือได้ว่าหน่วยบริการปฐมภูมิเป็น หน่วยบริการที่ใกล้ชิดประชาชนที่สุด มีหน้าที่ให้บริการรักษาพยาบาล สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพก่อนส่งต่อผู้ป่วยเฉพาะรายไปยังสถานบริการระดับสูงกว่า ได้แก่ หน่วยบริการระดับทุติยภูมิ (เช่น โรงพยาบาลอำเภอ) หรือหน่วยบริการระดับตติยภูมิ (เช่น โรงพยาบาลระดับจังหวัด) ถ้าบริการปฐมภูมิมีคุณภาพดี ย่อมทำให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่มีมาตรฐาน มีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของ ประชาชน อีกทั้งช่วยลดปัญหาความแออัดและการรอคอยที่โรงพยาบาล รวมทั้งลดปัญหาสุขภาพรุนแรงที่สามารถป้องกันได้

คุณภาพของการบริการปฐมภูมิจึงมิได้หมายถึงสมรรถนะในการทำงาน (performance) เท่านั้น แต่หมายถึงผลลัพธ์ ด้านสุขภาพของประชาชนที่จะดียิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาจากปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทยที่มีโรคเรื้อรังมาเป็นลำดับต้น และประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว หน่วยบริการปฐมภูมิจึงมีบทบาทอย่างมากในการป้องกันและดูแลผู้ป่วยที่ เสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง การวัดสมรรถนะ (performance measurement) ของการให้บริการสุขภาพจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิ

QOF ถือว่าเป็น P4P เน้นการวัดเชิงคุณภาพ

QOF 3

การวัดสมรรถนะของการให้บริการสุขภาพเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ทราบคุณภาพของบริการ และเพิ่มความโปร่งใสให้แก่กระบวนการที่เกี่ยวข้อง และยังส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพราะช่วยให้จัดการทรัพยากรที่มีจำกัดได้คุ้มค่า และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด บางประเทศนำการวัดสมรรถนะไปเชื่อมโยงกับการจ่ายเงินจูงใจ(incentive) ให้แก่หน่วยบริการสุขภาพ เพื่อให้สร้างผลงานการให้บริการที่มีคุณภาพ ลดความผิดพลาด และได้มาตรฐานตามข้อกำหนด จนเป็นที่มาของการจ่ายค่าตอบแทนตามสมรรถนะ (pay for performance, P4P) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มผลิตภาพ ประสิทธิภาพและคุณภาพบริการ

P4P เป็นกลไกการจ่ายค่าตอบแทนที่มีความเชื่อมโยงกับสมรรถนะ คือพิจารณาผลงานตามตัวชี้วัดคุณภาพก่อนจ่ายเงินกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพบริการให้ดีขึ้นจนบรรลุเป้าหมายที่กำหนด จึงมีข้อดีกว่าการจ่ายเงินสำหรับบริการแบบอื่น เช่น การเหมาจ่ายรายหัว (capitation) ที่จ่ายตามจำนวนประชากรที่ต้องดูแลในพื้นที่ให้บริการ และการจ่ายตามบริการ (fee-for-services, FFS) ที่จ่ายตามจำนวนครั้งการให้บริการ แต่ไม่ได้พิจารณาคุณภาพของการให้บริการประกอบหลายประเทศนำP4P ไปใช้ เช่น ออสเตรเลียนำไปใช้พัฒนาบริการปฐมภูมิในโครงการ Practice Incentive Program อังกฤษและเวลส์นำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิในเวชปฏิบัติครอบครัว (family practice) เรียกว่า โครงการQuality and Outcomes Framework (QOF)  นอกจากนี้ยังมีประเทศ แทนซาเนีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ที่ประยุกต์ใช้ P4P แต่ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีทั้งที่ประสบผลสำเร็จและไม่สำเร็จหลากหลายตามปัจจัยและความพร้อมของแต่ละประเทศ

ติดตามโครงการ QOF ในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ใน Blog ต่อไป

16 พฤษภาคม 2560

Next post > กระทะโคเรียคิงกับ HTA ทั้งสองอย่างนี้เกี่ยวอะไรกัน

< Previous post บริการปฐมภูมิ สำคัญอย่างไรจึงต้องมีการควบคุมคุณภาพ

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ