บริการปฐมภูมิ สำคัญอย่างไรจึงต้องมีการควบคุมคุณภาพ
หากพูดถึงโครงการ QOF ท่านผู้อ่านหลายคนอาจไม่คุ้นหูเพราะโครงการ QOF เป็นโครงการซึ่งดำเนินงานอยู่ภายในหน่วยงานรัฐ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีการทำงานคือประเมินคุณภาพการทำงานของหน่วยบริการปฐมภูมิและตอบแทนหน่วยบริการที่ปฏิบัติงานได้ดี ด้วยการเพิ่มงบประมาณให้ โดยคำนวณเป็นคะแนนการทำงานที่มีคุณภาพและนำคะแนนที่ได้คิดเป็นงบประมาณที่ควรได้รับเพิ่ม อธิบายง่าย ๆ ว่า เป็นการ จ่ายเงินซื้อคุณภาพบริการนั่นเอง
บริการปฐมภูมิ สำคัญอย่างไร
บริการปฐมภูมิ คือ บริการสุขภาพด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทดูแลสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น ในกรณีเกิดการเจ็บป่วยจะได้รับการดูแลในเบื้องต้น และส่งผู้ป่วยต่อสถานพยาบาลสับหรับการรักษาที่ซับซ้อน รวมถึงบริการฟื้นฟู การจัดบริการปฐมภูมิในประเทศไทย มีรูปแบบเครือข่ายที่เรียกว่า หน่วยบริการคู่สัญญา เพื่อบริการปฐมภูมิ (Contracting unit for primacy care : CPU) ซึ่งมีหน่วยบริการที่อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเอกชน ขณะที่รูปแบบหนวยการบริการที่พบมากที่สุขคือ CPU ประกอบด้วยโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน (รพ.สต.) ในอำเภอหนึงจะมีโรงพยาบาลแม่ข่าย (รพช.) ทีบริการปฐมภูมิ ถือเป็นรากฐานในการดูแลสุขภาพประชาชนในระบบสาธารณสุข
การบริการปฐมภูมิดีมีคุณภาพ ก็ส่งผลดีแก่ประชาชน ดังนั้นการควบคุมคุณภาพของการให้บริการจึงเป็นหัวใจสำคัญของการดูแลสุขภาพจากฐานสู่ยอด จึงเกิดงานควบคุมคุณภาพบริการปฐมภูมิในหลายๆส่วน ซึ่งส่วนหนึ่งคือโครงการงบจ่ายตามตัวชี้วัดเกณฑ์คุณภาพ และผลงานบริการปฐมภุมิ (Quality and Outcome Framework ) หรือที่เรียกกันว่า โครงการ QOF ดังนั้นจึงอาจมอง ว่า โครงการ QOFเป็นเรื่องภายในของรัฐ ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประชาชน แท้จริง แล้วโครงการ QOF มีเป้าหมายหลักคือ ต้องการให้คนไทยได้รับบริการสาธารณสุข ที่มีคุณภาพ พร้อมกับพัฒนาการทำงาน ของหน่วยบริการไปด้วยกัน