logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ กินหมาก ระวังมะเร็งช่องปาก!

มะเร็งช่องปากเป็นมะเร็ง 1 ใน 27 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบทั่วโลก ในประเทศไทย พบผู้ป่วยเป็นมะเร็ง 8.8 รายต่อแสนคน ในจํานวนนี้พบใน เพศชาย มากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์ในระยะลุกลามยากต่อการรักษา การลดพฤติกรรมเสี่ยง และการคัดกรองหารอยโรค สามารถช่วยคุณห่างไกลจากโรคนี้ได้

ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงบ้าง

การเกิดมะเร็งช่องปากยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่ชัดเจน ทว่ากลับพบปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งช่องปากจากทั่วโลก คือการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์และการติดเชื้อ HPV (human papillomavirus) และปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น พันธุกรรม พฤติกรรมการบริโภคอาหาร มะเร็งในช่องปากมักพบในผู้สูบบุหรี่ ผู้ดื่มแอลกอฮอล์ โดยโอกาสจะเป็นเกิดโรค ขึ้นอยู่กับความถี่และระยะเวลาของการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ของแต่ละบุคคล ทั้งนี้กลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่ร่วมกับดื่มแอลกอฮอล์ จะมีความเสี่ยงสูงกว่าถึง 6-15 เท่าของคนทั่วไป นอกจากนี้ การเคี้ยวหมากก็เสี่ยงเป็นมะเร็งช่องปากได้เช่นกัน

คัดกรองมะเร็งช่องปากด้วยตัวเอง

ความผิดปกติที่สามารถสังเกตได้ในข่องปากเช่น มีรอยขาว รอยแดง ตุ่มก้อน หรือแผลเล็กๆ ในปากซึ่งอาจจะทำให้รูสึกระคายเคือง หรือเจ็บปวดร่วมด้วย โยระยะที่แสดงอาการดังกล่าวเรียกว่า “ระยะก่อนเป็นมะเร็ง” หรือ Potentially Malignant Disorders (PMD) ระยะ PMD จะพัฒนาเป็นมะเร็งช่องปากระยะที่ 1 ใช้เวลาประมาณ 5 ปี

โปรแกรมการคัดกรองรอยโรคมะเร็งช่องปากที่เหมาะกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ถูกออกแบบมาให้เข้ากับประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนทันตแพทย์ที่จำกัดเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วย สำหรับผู้ที่มีพันธุกรรม พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เข้าข่ายเสี่ยงสูง ก็สามารถตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยตัวเองได้บ่อยขึ้น

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitap.net/research/82424

 

6 มีนาคม 2560

Next post > วิจัยในวัยเรียนไม่เหมือนกับวิจัยในชีวิตจริง

< Previous post บทบาทของการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ