logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
บทบาทของการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย

จากการประชุม HTAi 2016 Annual Meeting ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นกล่าวถึงการประเมินเทคโนโลยี ด้านสุขภาพในมุมต่าง ๆ หนึ่งในนั้น คือ บทบาท ของการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยในการตัดสินใจเชิงนโยบาย

แม้ว่าปัจจุบันการประเมินเทคโนโลยี ด้านสุขภาพจะเป็นที่ยอมรับและนำไปใช้ในการตัดสินใจเชิงนโยบายอย่างแพร่หลาย แต่มีข้อสังเกตว่าในหลายประเทศแม้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ยังขาดการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นตัวแทนของผู้ป่วยในขั้นตอนของการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี การประเมินเทคโนโลยีก่อนการอนุมัติ ให้นำมาใช้หรือการนำเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์

ทำไมต้องมีการมีส่วนร่วมจากผู้ป่วย ?

ผู้ป่วยหรือตัวแทนเป็นกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการประเมินเทคโนโลยีและการตัดสินใจเชิงนโยบาย เนื่องจากผลการประเมินและการตัดสินใจดังกล่าว จะเป็นตัวกำหนดว่าผู้ป่วยจะสามารถได้รับบริการหรือเข้าถึงเทคโนโลยี นั้น ๆ ได้หรือไม่ต้องเสียค่าบริการหรือรัฐจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายให้มากน้อยเพียงใด การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยหรือตัวแทน จะทำให้เกิดมุมมองในการประเมินที่กว้างขึ้น ส่งผลให้เทคโนโลยีนั้น ๆ ได้รับยอมรับมากขึ้น

ผู้ป่วยมีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง ?

ผู้ป่วยสามารถมีส่วนร่วมในการวิจัยเพื่อประเมินเทคโนโลยี ด้านสุขภาพหลายรูปแบบ เช่น ในการศึกษาทางคลินิก การศึกษา ภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย คุณภาพชีวิต ความต้องการของผู้ป่วย และอุปสรรคในการเข้าถึงบริการ นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถมีส่วน ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย โดยร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการ คัดเลือกเทคโนโลยีเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ หรือให้ข้อมูลและแสดง ความคิดเห็นต่อคณะกรรมการดังกล่าว2 ทั้งนี้ ระดับการมีส่วนร่วม ของผู้ป่วยในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันสรุปได้ ดังนี้

1 ผู้ป่วยขาดการมีส่วนร่วมในการประเมินและตัดสินใจเชิงนโยบาย เช่น เม็กซิโก แอฟริกาใต้ อิตาลี และฝรั่งเศส

2 ผู้ป่วยมีบทบาทให้ความคิดเห็นต่อการประเมินเทคโนโลยีด้าน สุขภาพ โดยได้รับเชิญให้แสดงความคิดเห็นต่อผลการศึกษา เช่น บราซิล โปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน

3 ผู้ป่วยมีบทบาททั้งในการประเมินและคัดเลือกเทคโนโลยีด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ เช่น เยอรมัน ออสเตรเลีย สวีเดน สหราชอาณาจักร แคนาดา และไทย

ประเทศไทยได้สร้างกระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งให้ผู้แทนของกลุ่มผู้ป่วย มีบทบาทในการคัดเลือกหัวข้อปัญหาสุขภาพและเทคโนโลยีที่จะนำมาประเมิน นอกจากนี้ ผู้แทนกลุ่มผู้ป่วยยังมีบทบาท การตัดสินใจเชิงนโยบายโดยได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมเพื่อให้ข้อเสนอและ แสดงความคิดเห็นในการคัดเลือกเทคโนโลยีเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ จะเห็นได้ว่าการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยก็ช่วยสะท้อนว่าให้ เห็นว่าเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่พัฒนาขึ้นนั้นมีประโยชน์จริงมาก น้อยเพียงใดและผู้ป่วยคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญเช่นกัน

สามารถอ่านลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่https://www.hitap.net/documents/167057

 

28 กุมภาพันธ์ 2560

Next post > ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ กินหมาก ระวังมะเร็งช่องปาก!

< Previous post เครื่องมือคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการฉบับปรับปรุง ใช้งานง่าย ไม่เพิ่มภาระงาน

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ