logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ข่าวประชุมผู้เชี่ยวชาญการประเมินความปลอดภัยและประสิทธิผลของการใช้ bevacizumab เพื่อรักษาโรคจอตา

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 HITAP ได้จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอผลการศึกษาเชิงสังเกต การประเมินความปลอดภัยและประสิทธิผลของการใช้ bevacizumab (IVB) และ ranibizumab (IVR) ทางการฉีดเข้าวุ้นตาในการรักษาผู้ป่วยโรคจอตา โดยมีผู้เข้าร่วมอภิปรายและให้ข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษารวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากหน่วยงานต่าง ๆได้แก่ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันที่เข้าร่วมโครงการวิจัย ตัวแทนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และตัวแทนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ให้ทุน
จากการติดตามอาสาสมัครนาน 6 เดือนพบว่าการใช้ IVB ในระยะสั้นนั้นมีความปลอดภัย โดยพบอัตราการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงซึ่งเป็นข้อกังวลจากการศึกษาก่อนหน้าโดยเฉพาะภาวะลิ่มเลือดอุดตันและการติดเชื้อในลูกตา (endophthalmitis) ต่ำ และความเสี่ยงเหล่านี้ไม่แตกต่างจากการรักษาด้วย IVR
อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่างจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้ ด้านประสิทธิผล พบว่ายาทั้งสองชนิดมีประสิทธิผลในการรักษาโรคจอตาและโรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อมจากเหตุสูงวัย ชนิดที่มีหลอดเลือดงอกผิดปกติและโรคจุดภาพชัดบวมน้ำจากโรคเบาหวานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า IVB ยังมีประสิทธิผลในการรักษาโรคจุดภาพชัดบวมน้ำจากหลอดเลือดดำจอตาอุดตันอีกด้วย
ดังนั้น IVB จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคจอตาในราคาที่สังคมไทยสามารถจ่ายได้เมื่อเปรียบเทียบกับ IVR
อีกทั้ง การพิจารณาใช้ IVB เป็นทางเลือกแรกสำหรับการรักษาโรคจอตาในผู้ป่วยจากระบบประกันสุขภาพทั้งสามกองทุน จะช่วยประหยัดงบประมาณลงเป็นอย่างมากและสามารถจัดสรรเงินจำนวนนี้เพื่อลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันแก้ไขปัญหาสายตาเลือนราง ตาบอด ให้เกิดความคุ้มค่าอื่นๆสูงสุด

8 พฤศจิกายน 2559

Next post > HITAP ร่วมกับ IHPP นำเสนอกระบวนการพิจารณาและคัดเลือกหัวข้อปัญหาสุขภาพและเทคโนโลยีสุขภาพ ภายใต้โครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ระบบหลักประกับสุขภาพถ้วนหน้า

< Previous post เย ธัมมา เหตุปปภวา...(3)

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด