logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญในโครงการ “การศึกษาปัจจัยและตัวแสดงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคอ้วนในเด็กก่อนวัยเรียนที่อาศัยในเขตเมือง”

วันที่ 13 มิ.ย. 57 คณะผู้วิจัย น.ส.จอมขวัญ โยธาสมุทร นักศึกษาปริญญาเอก University of East Anglia และนักวิจัย HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญต่อการเก็บข้อมูลในพื้นที่ ของโครงการ “การศึกษาปัจจัยและตัวแสดงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคอ้วนในเด็กก่อนวัยเรียนที่อาศัยในเขตเมือง” ในการประชุมครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากหลายส่วนเข้าร่วม เช่น กุมารแพทย์ ตัวแทนจาก สสส. ตัวแทนจากกรมอนามัย และผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
การศึกษาครั้งนี้ น.ส.จอมขวัญ ใช้วิธีการเฝ้าสังเกต และสัมภาษณ์ ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กก่อนวัยเรียนใน 3 โรงเรียน ที่มีความแตกต่างด้านเศรษฐสถานะ คือ โรงเรียนรัฐบาล(ไม่เสียค่าเรียน) โรงเรียนเอกชนแบบค่าเรียนเดือนละ 1,500 บาท และโรงเรียนเอกชนแบบค่าเรียนเดือนละ 15,000 บาท รวมทั้งติดตามครอบครัวเด็ก 18 ครอบครัวเพื่อค้นหาปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องต่อภาวะอ้วนในเด็ก

จากการนำเสนอพบข้อมูลที่น่าสนใจหลายประเด็น เช่น การเลือกนมให้เด็กดื่มของผู้ปกครอง พบว่า ทั้ง 3 โรงเรียน ผู้ปกครองล้วนเห็นว่านมเสริมธาตุเหล็กและสารอาหารต่าง  ๆ ดีต่อลูก แม้จะมีราคาแพงกว่านมจืดปกติเกือบ 2 เท่า

หลังจากการนำเสนอ ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อคิดเห็นหลายประการต่อการนำไปปรับปรุงวิธีการเก็บข้อมูลในช่วงถัดไป เช่น ให้นักวิจัยไปศึกษานโยบายการดูแลโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กเพิ่มเติม เนื่องจากจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดูแลเด็กที่ต่างกัน นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังเสนอให้มีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในบางส่วน เพื่อให้งานวิจัยสมบูรณ์มากขึ้น

สุดท้ายผู้เชี่ยวชาญได้เสนอว่า งานวิจัยชิ้นถึงแม้จะเป็นงานวิจัยปริญญาเอก แต่ผลการศึกษาบางส่วนน่าจะมีความสำคัญต่อการเชื่อมโยงข้อมูลไปใช้ในระดับนโยบาย

หลังจากนี้ นักวิจัยจะนำข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญไปปรับปรุงแผนการดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยงานวิจัยชิ้นนี้คาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2559

นักวิจัยนำนำเสนอผลวิจัยเบื้องต้น ในด้านนโยบายการดูแลโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ โรงเรียนทั้งสามแห่ง ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษามีลักษณะต่างกันออกไปในโครงสร้างการบริหาร งบประมาณ รวมไปถึงมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุม ส่งผลให้ปัจจัยในการดำเนินนโยบายทางโภชนาการ ที่มีมีต่อความอ้วนของเด็กแตกต่างกันออกไป
และผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะให้ทบทวนเพิ่มเติม  ได้แก่ เครื่องมือติดตามภาวะโภชนาการของเด็ก การจัดอาหาร และขนมภายในโรงเรียน นโยบายด้านการบริหารจัดการอาหารโรงเรียน, เป็นต้น

ในด้านการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม โดยทำการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากข้อมูลในระดับโรงเรียน เช่น การเก็บข้อมูลเรื่อง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม, พฤติกรรมผู้บริโภคของครูผู้ดูแล, อาหาร ขนม ,รถเข็น และร้านขายขนมรอบโรงเรียน
และข้อมูลในระดับครอบครัว ได้แก่ ลักษณะที่แตกต่างกันออกไปของเด็กกลุ่มตัวอย่างทั้ง 18 คน รวมไปถึงลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันของกลุ่มเป้าหมายที่จะส่งผลต่อโรคอ้วนของเด็ก,
การจัดเก็บผลทางสถิติเกี่ยวกับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเด็กในวัยนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ กล่าวคือ การเก็บข้อมูลเรื่องน้ำหนักส่วนสูง รวมไปถึงช่วงเวลาที่นักวิจัยจัดเก็บข้อมูลเช่นในช่วงปิดเทอมหรือเปิดเทอมที่เด็กจะมีภาวะอ้วนมากกว่ากัน, การตัดสินใจซื้อขนม และเครื่องดื่มของเด็ก, เส้นทางการบริโภคขนมและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและพลังงานสูง,มุมมอง และการให้คุณค่าในการเลือกนมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน, สิ่งแวดล้อมในชุมชนและในร้านค้าในชุมชน พื้นที่สำหรับการออกกำลังกายและความยากง่ายในการเข้าถึงขนม, รูปแบบการซื้อขนมของครอบครัว, และความเชื่อมโยงระหว่างการดูแลที่โรงเรียนและในบ้าน และความคาดหวังของผู้ปกครองถึงบทบาทของโรงเรียนและบทบาทของตนเอง
และยังมีสมมุติฐานที่อาจต้องศึกษาเพิ่มเติม เช่น ความเชื่อ มิติทางวัฒนธรรมของผู้ดูแลเด็ก (รวมไปถึงผู้ปกครอง) ที่มีต่อองค์ความรู้แต่ละชุดและการนำองค์ความรู้นั้นไปใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก โดยเฉพาะเรื่องการบริโภคและการออกกำลังกาย เช่นความรู้ของปู่ย่าตายาย กับชุดความรู้ของพ่อแม่รวมไปถึง อาชีพของผู้ปกครอง ภาพลักษณ์ของอาหารและเครื่องดื่ม และเรื่องของยุคสมัยที่เปลี่ยนไปที่ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีเวลาให้กับลูกน้อยลงดังนั้นทำให้เวลาที่จะต้องมาใช้ในการดูแลบุตรหลานถูกจำกัดมากขึ้น ทำให้ผู้ปกครองมีแนวโน้มจะละเลยในการดูแลบุตรหลานในบางเรื่อง
โดยเฉพาะเรื่องโภชนาการ หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่จะมีผลต่อภาวะอ้วนในเด็ก

และยังมีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลไปใช้ในเชิงนโยบายควบคุมโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวถูกบังคับใช้เฉพาะในโรงเรียน สังกัด สพฐ.เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้ได้ผลจริงอีกด้วย

สุดท้ายผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม คือให้มีโปรแกรมบันทึกและวิเคราะห์ภาวะโภชนาการของเด็กได้แก่“School Management Information System (SMIS)” developed ซึ่งเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีทางเว็บไซต์ของ สพฐ.และโปรแกรม INMU ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันโภชนาการ มหาลัยมหิดล สำหรับการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายนั้น อาจประสานงานและขอสัมภาษณ์ ดร.ทพญ. จิราพร ขีดดี สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้เพิ่มเติม นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังเสนอแนะให้ผู้วิจัยมีความชัดเจนในเรื่องข้อค้นพบ(หัวข้อ แนวคิดหลัก) รวมไปถึงสมมุติฐานในการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาตามแนวคิดหลัก  และใช้แนวคิดหลักที่ได้ในการศึกษาในส่วนของโรงเรียนมาเป็นแนวทางในการศึกษาระดับครัวเรือนต่อไป

สอบถามรายละเอียดโครงการวิจัย “การศึกษาปัจจัยและตัวแสดงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคอ้วนในเด็กก่อนวัยเรียนที่ อาศัยในเขตเมือง” ได้ที่ น.ส.จอมขวัญ โยธาสมุทร Email: [email protected]

14 กรกฎาคม 2557

Next post > HITAP จัดประชุมคณะทำงานพิจารณาผลการทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้นในการจัดทำ “ข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”

< Previous post HITAP และ NECA ร่วมประชุมวิชาการ ในการจัดทำ HTA ที่ประเทศอินโดนีเซีย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด