logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
นักวิจัย HITAPเยือนอินเดียเพื่อเก็บข้อมูลกับหน่วยงานด้านสุขภาพในประเทศอินเดีย

HITAP ได้รับทุนสนับสนุนจาก Tufts University เพื่อดำเนินโครงการ Development of a Registry of Cost-per-DALY economic evaluations of health interventions โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบประโยชน์ของการใช้ข้อมูล cost-per-DALY ประกอบการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพ ลักษณะของฐานข้อมูลที่ควรจะเป็นเพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้น และการปรับใช้ผลการศึกษาจากต่างประเทศมาใช้ประโยชน์ในประเทศ โครงการนี้ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์ผู้กำหนดนโยบาย และนักวิชาการในประเทศกำลังพัฒนาจำนวน 3 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม อินเดีย และบังคลาเทศ

ระหว่างวันที่ 13-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 นักวิจัย HITAP นำโดย ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ ดร.อินทิรา ยมาภัย และ น.ส.ณัฏฐา ไตรทศาวิทย์ ได้เดินทางไปเมือง Chennai ในรัฐ Tamil Nadu เมือง Bangalore ในรัฐ Kanataka และ New Delhi เพื่อสัมภาษณ์ผู้กำหนดนโยบายในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ผู้บริหารกองทุนสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในองค์กรระหว่างประเทศ หน่วยงานวิจัยด้านระบบสุขภาพของรัฐบาล แพทย์ และนักวิชาการในสถาบันการศึกษา จำนวนรวมทั้งสิ้น 14 ท่าน ผลจากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นพบว่าข้อมูล cost-per-DALY นั้นมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพ อย่างไรก็ตามพบว่ามีข้อจำกัดของการใช้ข้อมูลนี้ กล่าวคือหลักการของการวิเคราะห์ความคุ้มค่านั้นยังไม่ได้นำไปใช้อย่างแพร่หลาย โดยปัจจุบันการตัดสินใจนั้นส่วนใหญ่ใช้เฉพาะข้อมูลราคา นอกจากนั้นยังไม่มีกลไกที่จะผนวกข้อมูลด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความคุ้มค่าให้อยู่ในกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย ขณะนี้นักวิจัยอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก โปรดติดตามความก้าวหน้าของโครงการได้จาก website HITAP

28 กุมภาพันธ์ 2557

Next post > รับสมัครผู้ช่วยวิจัย (พนักงานสัมภาษณ์) 3 อัตรา โครงการวิจัย "การประเมินความปลอดภัยและประสิทธิผลของการฉีด bevacizumab และ ranibizumab เข้าวุ้นตาในการรักษาผู้ป่วยโรคจอตา: การศึกษาเชิงสังเกต"

< Previous post 7 สิ่งควรเลี่ยง ถ้าไม่อยากกระดูกพรุน/คอลัมน์ Health Line สายตรงสุขภาพ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด