logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
HITAP จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอ และข้อความเห็นต่อผลวิจัยเบื้องต้นการศึกษา  ต้นทุนและความเหมาะสมของการผ่าตัดด้วยระบบนำวิถี

มื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2556 จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นในโครงการการประเมินความคุ้มค่าของการผ่าตัดด้วยระบบนำวิถี ในผู้ป่วยโรคเนื้องอกสมองและเส้นเลือดในสมองผิดปกติ ณ ห้องประชุม กระทรวงสาธารณสุข การประชุมมีขึ้นเพื่อนำเสนอผลวิจัยเบื้องต้นให้ผู้เชี่ยวชาญทราบเพื่อให้ข้อเสนอแนะสำหรับวางแผนการดำเนินงานวิจัยในขั้นต่อไป

           การผ่าตัดด้วยระบบนำวิถี หรือ เป็นการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสร้างภาพเสมือนจริงทางกายวิภาคของผู้ป่วย ทำให้สามารถแสดงตำแหน่งความผิดปกติและช่วยวางแผนการผ่าตัดได้ โดยประโยชน์ที่นำไปใช้ส่วนใหญ่ใช้กับการผ่าตัดสมองและเส้นประสาท ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า เป็นต้น โดยการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวจะมีข้อดีคือเกิดความแม่นยำมากขึ้น ทำลายเนื้อเยื่อน้อย บาดแผลเล็กลง ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลน้อยวันลง อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดโวยการอาศัยเครื่องมือดังกล่าวมีราคาแพง เนื่องจากต้นทุนอุปกรณ์สูงและจำนวนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้วิธีดังกล่าวมีไม่มาก ส่งผลให้ค่าผ่าตัดต่อผู้ป่วยหนึ่งรายสูง จึงเป็นที่มาของการศึกษาว่าหากประเทศไทยต้องการสนับสนุนให้มีการใช้ระบบดังกล่าวในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเหมาะสมหรือไม่ หรือหากนำมาใช้จะเหมาะกับการผ่าตัด หรือผู้ป่วยลักษณะใดบ้าง
         ผลการศึกษาด้วยการทบทวนงานวิจัยที่มีมาทั้งในและต่างประเทศ พบว่ายังไม่มีแนวทางเวชปฏิบัติ หรือนโยบายการเบิกจ่ายการรักษาที่ชัดเจนต่อการใช้เครื่องนำวิถีช่วยในการผ่าตัด  ทั้งนี้การศึกษาส่วนใหญ่ระบุว่าการใช้เครื่องนำวิถีมาช่วยในการผ่าตัด ส่งผลให้การผ่านตัดเป็นไปอย่างแม่นยำมากขึ้น               หลังจากนี้คณะวิจัยจะนำข้อเสนอแนะที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญไปพิจารณาปรับปรุงการศึกษา ซึ่งภายหลังจากการศึกษาเสร็จสิ้นคาดว่าข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในการกำหนดแนวทางจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม

27 ธันวาคม 2556

Next post > HITAP จับมือ NICE international, CDE และหน่วยงานต่างประเทศ ตั้ง International Decision Support Initiative (iDSI)

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญให้ข้อคิดเห็นต่อการพัฒนางานวิจัยการตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำของทารกที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างโครโมโซม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด