logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ที่โหมกระแสกันว่าดื่มชาเขียวแล้วดีต่อสุขภาพ อาจจะจริงหากเป็นการชงชาด้วยตนเอง แต่สำหรับเครื่องดื่มบรรจุขวดหรือกล่องเช่นนี้ แม้แต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังเอ่ยปากเองว่า ไม่ได้มีประโยชน์อะไรไปมากกว่าเครื่องดื่มผสมน้ำตาลอย่างน้ำอัดลมเลยทีเดียว
       
       และที่น่าตกใจคือ คนไทยนิยมบริโภคเครื่องดื่มอย่างน้ำอัดลม และชาเขียวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เครื่องดื่มที่มีประโยชน์อย่างนมและน้ำผลไม้ กลับไม่กระเตื้องขึ้นสักนิดทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน อธิบายว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาของน้ำอัดลมและชาเขียว มีราคาถูกกว่านมและน้ำผลไม้ ซึ่งไม่แปลกใจเลยที่คนไทยจะมีโรคเรื้อรังอย่างโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น เพราะคนไทยติดกินหวาน ปริมาณการบริโภคน้ำตาลพุ่งสูงขึ้นจนน่าตระหนก และกว่าครึ่งหนึ่งของน้ำตาลนั้นมาจากเครื่องดื่มเหล่านี้ ซึ่งข้อมูลทางวิชาการยืนยันได้ว่า การขึ้นภาษีเครื่องดื่มรสหวาน ทำให้ราคาแพงขึ้นจะส่งผลให้คนบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเหล่านี้น้อยลง และเกิดผลดีต่อสุขภาพตามมา โดยเฉพาะการรับมือกับวิกฤตโรคเบาหวาน
       
       สำหรับหลักเกณฑ์ในการขึ้นภาษีนั้น คนทำงานด้านสุขภาพอย่าง นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) เสนอว่า การกำหนดอัตราภาษีต้องสอดคล้องกับระดับน้ำตาล มีความครอบคลุมและเสมอภาคกับเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะประเภทชาเขียวเท่านั้น และในอนาคตยังอาจดำเนินงานควบคู่ไปกับ มาตรการทางราคาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงอาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์มากขึ้น เพราะที่ผ่านมาเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลถูกเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าเครื่องดื่มที่ไม่เติมถึง 25% จึงขอเรียกร้องให้กระทรวงการคลังยกเครื่องระบบภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องดื่ม โดยพิจารณาจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบ
       
       แต่ความเป็นจริงแล้วเมื่อมีการขึ้นภาษี ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 10 ของมูลค่าสินค้า ราคาของสินค้าก็อาจไม่เพิ่มขึ้นมากจนน่าตกใจที่จะชักจูงให้คนที่ชอบดื่มชาเขียวหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวานเลิกดื่มได้ อย่างน้ำชาเขียวขวดละ 20 บาท เพิ่มภาษีขึ้นมาอีก 2 บาท ก็เป็น 22 บาท เป็นต้น สำหรับกลุ่มคนที่มีกำลังในการซื้ออาจจะมีความไม่พอใจที่ต้องเสียเงินมากขึ้น แต่ถามว่าจ่ายได้หรือไม่ก็ยังสามารถจ่ายได้และก็จะยังดื่มต่อไป
       
       เห็นได้ชัดจากกรณี น.ส.สุวิมล วงจันทร์ หรือน้องเกด นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่กล่าวได้ว่า เธอติดดื่มเครื่องดื่มชาเขียวเป็นชีวิตจิตใจ จากการสอบถามพบว่า น้องเกดดื่มชาเขียวมากถึง 3 ขวดต่อวัน หากชาเขียว 1 ขวดมีน้ำตาลมากถึง 15 ช้อนชา เท่ากับว่า 1 วันเธอได้รับน้ำตาลมากถึง 45 ช้อนชา
       
       แม้น้องเกดจะให้ข้อมูลว่า จากการตรวจเช็กสุขภาพเธอจะยังไม่เป็นโรคเบาหวาน แต่เธอก็ประสบปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งตลอดหลายปีที่เธอหันมาดื่มชาเขียวแสนหวานแทนน้ำอัดลมที่เธอดื่มมาตั้งแต่เด็ก จนมีปัญหาโรคกระเพาะนั้น เดิมทีน้ำหนักของเธออยู่ที่ 47 กิโลกรัม แต่หลังจากดื่มอย่างหนักถึง 3 ขวดต่อวันมานานหลายปีน้ำหนักก็ขึ้นไปถึง 63 กิโลกรัมแล้ว จริงอยู่ว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจมีปัจจัยการรับประทานอย่างอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่การดื่มชาเขียวมากถึง 3 ขวดต่อวันก็ยังเป็นเรื่องที่น่าตกใจอยู่ดี
       
       “ส่วนตัวแล้วหากจะขึ้นภาษีน้ำชาเขียวหนูไม่เห็นด้วยค่ะ แต่หากมีเหตุผลที่ว่าเพื่อต้องการให้คนไทยลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลลง สำหรับหนูคิดว่ามันไม่ได้ผล เพราะถึงอย่างไรหนูก็จะยังดื่มน้ำชาเขียวต่อไป และดื่มในปริมาณเท่าเดิมคือ 3 ขวดต่อวัน แต่อาจเลือกซื้อสินค้าที่มีขนาดเล็กลงเพื่อไม่ให้ราคาสูงจนเกินไปนัก”
       
       เมื่อสอบถามไปอีก น้องเกด ยอมรับว่า รับทราบดีว่าน้ำชาเขียวมีปริมาณน้ำตาลสูง แต่ก็ยังเลือกดื่ม เพราะติดใจในรสชาติ และสามารถช่วยให้เธอดับกระหายได้เป็นอย่างดี

 

พฤติกรรมการบริโภคเช่นนี้ น.ส.จุฑามาส อ่อนน้อม นักกำหนดอาหาร คลินิกโรคไต โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช บอกว่า หากดื่มชาเขียว 3 ขวดต่อวันเช่นนี้ และยังคงรับประทานอาหารตามปกติถือว่าอันตรายมาก เพราะจะเสี่ยงต่อภาวะการมีน้ำหนักเกิน โรคอ้วน และเป็นโรคเบาหวานได้ในที่สุด เพราะน้ำตาลในเครื่องดื่มชาเขียวจะกลายเป้นพลังงานส่วนเกินในร่างกาย และเมื่อไม่ได้ใช้ก็จะสะสมไปเรื่อยๆ เป็นกระบวนการให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งผลลัพธ์ก็เห็นชัดคือน้องเขามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลาย 10 กิโลกรัม

       
       แม้ชาเขียวจะมีข้อมูลงานวิจัยว่ามีสารที่ช่วยลดการชะลอวัยได้ แต่นั่นต้องหมายถึงการดื่มชาเขียวโดยที่ไม่เติมน้ำตาล ซึ่ง น.ส.จุฑามาส แนะนำว่า ต้องรับประทานเช่นนี้จึงจะเกิดผลดี แต่หากเป็นคนที่ติดการรับประทานหวาน อาจจะเลือกดื่มชาเขียวที่ใช้น้ำตาลเทียมแทนได้ คือจะได้รสชาติหวานเมื่อน่ำตาลปกติ แต่ไม่เกิดพลังงานสะสมในร่างกาย ซึ่งทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็มีขายแล้วตามท้องตลาด แต่นี่ยังไม่ใช่ตัวเลือกในการดื่มที่ดีที่สุด เพราะยังคงติดการรับปนะทานหวานอยู่ หากไม่สามารถหาเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลเทียมได้ ก็ต้องกลับไปบริโภคเหมือนเดิมอยู่ดี
       
       ทางที่ดีคือต้องดื่มชาเขียวหรือเครื่องดื่มที่เป็นสูตรไม่มีน้ำตาล ซึ่งก็มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นลักษณะนี้วางขายในท้องตลาดแล้ว การพยายามลดการกินหวานจนสุดท้ายนำไปสู่การดื่มเครื่องดื่มสูตรไม่มีน้ำตาล ย่อมช่วยให้ลดการกินหวานได้ในที่สุด แต่สำหรับประชาชนทั่วไปที่อาจดื่มชาเขียวตามปกติวันละขวด หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก ก็อาจแก้ไขได้ด้วยการลดการทานข้าว ทานอาหารจำวพกแป้ง หรือขนมหวานที่มีน้ำตาลลง เพื่อไม่ให้มีพลังงานสะสมมากเกินไป หรือต้องออกกำลังกายเพิ่มเพื่อให้เกิดการเผาผลาญพลังงาน ก็จะสามารถช่วยได้
       
       อย่างไรก็ตาม แม้การขึ้นภาษีจะช่วยให้คนส่วนหนึ่งกลับใจหันมาบริโภคเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ แต่อาจเป็นเพียงส่วนน้อย เพราะคนที่มีพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานราคาที่เพิ่มขึ้นเพียงน้อยนิดอาจไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องราคามากนัก โดยเฉพาะกลุ่มที่มีพฤติกรรมการดื่มเช่นน้องเกด ซึ่งเชื่อได้ว่าไม่มีดีน้องเกดเพียงคนเดียวแน่ และตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ น้ำอัดลมที่มีการขึ้นราคามาแล้วหลายครั้ง แต่คนไทยก็ยังเลิกดื่มไม่ได้เสียที นโยบายการขึ้นภาษีที่นักวิชาการด้านสุขภาพออกมาสนับสนุน นอกจากจะไม่สามารถช่วยได้ลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานได้แล้ว ยังอาจกลายเป็นการส่งเสริมให้รัฐรีดเงินจากประชาชนมากขึ้น
       
       หากจะแก้ปัญหาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวาน อาจต้องหามาตรการ หรือหนทางอื่นที่ได้ผลมากกว่านี้ เพราะเรื่องการเลือกรับประทานหรือเลือกดื่มเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเป็นปัจเจกบุคคล ซึ่ง พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข แนะนำว่า ทางที่ดีคือจะต้องทำให้คนที่ติดการรับประทานหวานหันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองให้ได้ ซึ่งการจะลดการดื่มน้ำชาเขียวหลายขวดต่อวันหรือลดการรับประทานอาหารที่มีรสชาติหวานมากๆ นั้น ก็จะต้องค่อยๆ ลดปริมาณลง อาจจะต้องใช้เวลา อุปสรรคสำคัญเลยคือเรื่องของความยับยั้งชั่งใจ หากผู้ที่รับประทานมีความยับยั้งชั่งใจได้ ก็จะสามารถค่อยๆลดการติดหวานลงมาได้ในที่สุด ต้องอาศัยความพยายามของตัวผู้ปรับประทานเองด้วย
       
       หากจะแก้ปัญหาวิกฤตโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดจากการบริโภคน้ำตาลที่มากขึ้นของคนไทย แค่มาตรการขึ้นภาษีเครื่องดื่มตามระดับน้ำตาลอาจไม่เพียงพอ เพราะหากคนที่ชอบรับประทานหวาน หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากยังไม่สามารถยับยั้งชั่งใจในการดื่มและรับประทานได้ ต่อให้ออกมาอีกกี่มาตรการก็ไม่มีประโยชน์ สิ่งที่คนทำงานด้านสุขภาพต้องทำการบ้านคือ ทำอย่างไรให้บุคคลเหล่านี้เกิดความยับยั้งชั่งใจให้ได้ มิเช่นนั้น มาตรการขึ้นภาษีนอกจากปัญหาสุขภาพอาจไม่ถูกแก้ไขแล้ว ยังจะเพิ่มภาระทางการเงินในการบริโภคให้แก่ประชาชนพ่วงเข้าไปด้วย

7 พฤศจิกายน 2556

Next post > ศิริราชแนะ “เด็กอ้วน-ผู้ใหญ่อายุเกิน 35 ปี” ตรวจเบาหวานก่อนเจอภาวะแทรกซ้อน

< Previous post เมื่อโรคร้าย รุมกินตับ/คอลัมน์ Health Line สายตรงสุขภาพ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด