logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ประชุมผู้เชี่ยวชาญโครงการการประเมินความคุ้มค่าของการผ่าตัดด้วยระบบนำวิถีในผู้ป่วยโรคเนื้องอกสมองและเส้นเลือดในสมองผิดปกติ

วันที่ 16 สิงหาคม 2556 ประชุมผู้เชี่ยวชาญโครงการการประเมินความคุ้มค่าของการผ่าตัดด้วยระบบนำวิถีในผู้ป่วยโรคเนื้องอกสมองและเส้นเลือดในสมองผิดปกติ

ภญ.ธนพร บุษบาวไล นักวิจัย HITAP นำเสนอเกี่ยวกับโครงการวิจัยต่อผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ ราชวิทยาลัยประสาทและศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย และคณะวิจัย

การประชุมครั้งจัดขึ้นเพื่ออภิปรายและขอข้อเสนอแนะในการกำหนดขอบเขตและแนวทางในการทำวิจัย โดยมีประเด็น ประสิทธิภาพของการผ่าตัดเนื้องอกในสมองด้วยระบบนำวิถีไม่ได้สัมพันธ์กับปริมาณก้อนเนื้องอกที่เหลือหรือที่ผ่าตัดออกมาได้ การผ่าตัดด้วยระบบนำวิถีสามารถใช้ได้กับข้อบ่งใช้อื่นด้วยนอกเหนือจากการผ่าตัดสมองได้ การพิจารณาต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง วิธีการจ่ายเงิน โดยให้พิจารณาไปที่ระบบให้รหัสกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnostic Related Group, DRG) ซึ่งยังไม่ครอบคลุม learning curve ของแพทย์ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการผ่าตัด รวมถึงต้นทุนในส่วนนี้ ซึ่งคณะวิจัยได้เสนอในการทำวิจัย 2 ขั้นตอน คือ การทำ extensive review จาก guideline และ คำนวณหาต้นทุนและจุดคุ้มทุนในการใช้เครื่องนำวิถี ภายใต้ข้อบ่งใช้ที่เหมาะสม

ดาวน์โหลดรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ได้ที่:  https://hitap.net/research/13024

11 ตุลาคม 2556

Next post > Journal Club เรื่อง การประเมินความคุ้มค่าของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ที่ฉีดอินซูลินในบริบทประเทศไทย

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญ โครงการการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาตร์ของกระบวนการตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำของทารกกลุ่มอาการดาวน์และทารกที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างของโครโมโซม

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด