logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: ผู้จัดการออนไลน์

ฉบับวันที่: 20 มิถุนายน 2016

ดึงหมอรามาฯ อบรมครูประจำชั้น “ครูอนามัย” ดูแลสุขภาพ นร.

สปสช. ร่วม อปท. กองทุนสุขภาพตำบล ทำโครงการบริการอนามัยโรงเรียนรูปแบบใหม่ นำร่อง ร.ร.ประถมศึกษาสังกัดท้องถิ่น 3 ปี จัดทำคู่มือบริการอนามัยโรงเรียน ดึงหมอรามาฯ อบรมครูประจำชั้นเป็นครูอนามัย หวัง นร. รับการส่งเสริมสุขภาพตามวัยอย่างมีมาตรฐาน

จากกรณีผลวิจัยของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) พบงานบริการอนามัยโรงเรียนระดับประถมศึกษาย่ำแย่ มีครูอนามัยดูแลสุขภาพเด็กทั้งโรงเรียนเพียง 1 – 2 แต่ไม่มีประสบการณ์ ไม่ผ่านการอบรม ทำให้แปลความหมายข้อมูลสุขภาพไม่เป็น ขาดการสนับสนุนอุปกรณ์จากโรงพยาบาล

นพ.กฤช ลี่ทองอิน ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า โรงเรียนเป็นสถานที่สำคัญที่หนึ่งที่เด็กใช้ชีวิตอยู่ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน จึงเป็นสถานที่ดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่เด็กนักเรียนได้ จากการศึกษาที่ผ่านมาของ HITAP พบปัญหาเด็กที่ไม่ได้รับบริการตรวจสุขภาพตามมาตรฐาน อาจเป็นเรื่องการจัดบริการ การตรวจร่างกายและการติดตามด้านสุขภาพที่ยังไม่มีมาตรฐาน สปสช.ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จึงได้ริเริ่มโครงการนำร่องการให้บริการอนามัยโรงเรียนรูปแบบใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีคุณภาพและสอดคล้องความต้องการด้านสุขภาพของเด็กประถมศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งเป็นบริการอนามัยโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่กำลังดำเนินการขับเคลื่อนอยู่ขณะนี้ ในรูปแบบของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น หรือกองทุนสุขภาพตำบล ที่ อบต./เทศบาล ดำเนินการหลัก

“ความร่วมมือจาก อปท. ในการบริหารจัดการเรื่องอนามัยโรงเรียนในสังกัดของ อปท. เอง จะทำให้การดำเนินงานง่ายขึ้น โดย อปท. มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน มีการจัดทำคู่มือมาตรฐานการทำงานสำหรับครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในปัญหาสุขภาพที่สำคัญ จัดอบรมครูประจำชั้นทุกคนให้เป็นครูอนามัยโดยทีมแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดีและเครือข่าย ซึ่งจะทำให้การบริการอนามัยโรงเรียนมีมาตรฐานการดำเนินงาน ส่งผลให้เด็กนักเรียนเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างแท้จริง” นพ.กฤช กล่าว

นพ.กฤช กล่าวว่า ภายหลังโครงการนำร่องนี้เสร็จสิ้น จะมีการประเมินผลในเชิงบริหารจัดการหลังดำเนินโครงการว่า เกิดปัญหาอะไรบ้าง และจะมีแนวทางในการแก้ไขอย่างไร นอกจากนี้ มีแผนจะขยายการดำเนินงานไปยังโรงเรียนในสังกัดท้องถิ่นเพิ่มเติมอีกในระยะ 3 ปี ให้ครบทุกแห่ง ซึ่งระหว่างนั้นหากท้องถิ่นสนใจที่จะดูแลเด็กนักเรียนที่อยู่ในสังกัดอื่น เช่น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ท้องถิ่นอาจเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ และเป็นผู้ประเมินผลการดำเนินงานเองทั้งหมด เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในระดับท้องถิ่นอันจะนำไปสู่ความสำเร็จและสามารถแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการและคุณภาพข้อมูลสุขภาพของเด็กประถมศึกษาได้อย่างยั่งยืน

21 มิถุนายน 2559

Next post > นักวิจัย HITAP ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโครงการประเมินโครงการนำร่องการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์

< Previous post กรมอนามัย เร่งสร้าง Care manager ลงพื้นที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุลดปัจจัยเสี่ยงโรคความดันสูง-เบาหวาน

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด