logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

          นพ.ยศ กล่าวว่า โปรแกรมตรวจสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับคนไทยในราคา380-400 บาท ได้แก่ 1.ตรวจเอชไอวี ตั้งแต่อายุ 13-50 ปี 2.ตรวจโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ ใช้วิธีตรวจไวรัสตับอักเสบบีและให้วัคซีนในผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน อายุ 31-40 ปี 3.ตรวจโลหิตจาง ให้ตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด หรือปริมาตรเม็ดเลือดแดงในเด็กอายุ 9-12 เดือน 4.ภาวะทุพโภชนาการ ให้วัดดัชนีมวลกายเมื่ออายุ15 ปีขึ้นไป 5.โรคเบาหวาน เจาะระดับน้ำตาลในเลือดเมื่ออายุ30 ปีขึ้นไป
          6.โรคหัวใจขาดเลือด ตรวจละเอียดในผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป นอกนั้นประเมินความเสี่ยงจากการวัดความดันโลหิต ระดับไขมัน ความยาวรอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด และซักประวัติการสูบบุหรี่ 7.โรคหลอดเลือดสมอง สำหรับผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป คลำชีพจร หากผิดปกติให้ส่งตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 8.โรคมะเร็งปากมดลูก ตรวจแปปสเมียร์ เมื่ออายุ30-60 ปี ทุก 5 ปีหรือเมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์9.ปัญหาการดื่มสุรา หากอายุ 15-60 ปี และดื่มประจำควรตรวจพฤติกรรมเสี่ยงทุกปี และ 10.การป้องกันอุบัติเหตุจราจร อายุ 65 ปีขึ้นไป ให้วัดสายตาก่อนต่อใบขับขี่
          นพ.ยศ กล่าวว่า สิทธิประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่ได้ครอบคลุมการตรวจสุขภาพ ทำให้คนไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง โดยเมื่อปี2554 พบว่าค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพอยู่ที่2,200 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2552 ถึง 700 ล้านบาท โดยหากบรรจุชุดตรวจสุขภาพลงในทุกสิทธิรักษาพยาบาลจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
          นพ.ยศ กล่าวอีกว่า ชุดตรวจสุขภาพได้ผ่านการประเมินจากราชวิทยาลัยแพทย์โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และภาคประชาชนเรียบร้อยแล้ว โดยจะนำผลวิจัยไปหารือกับสาธารณสุขเพื่อกำหนดนโยบาย
          พญ.สายพิณ หัตถีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีกล่าวว่า ชุดตรวจสุขภาพหลายชุดถูกใช้เกินความจำเป็น และสร้างความหวาดระแวงให้กับประชาชนมากเกินไป โดยสามารถสร้างความเครียดและวิตก เนื่องจากไปตรวจพบจุดที่ไม่อันตราย

26 สิงหาคม 2556

Next post > วิจัยชี้เลี่ยงเช็กสุขภาพแบบเหวี่ยงแหก่ออันตราย-เปลืองเงิน

< Previous post ชี้คนไทยแห่ตรวจสุขภาพเสี่ยงรับผลกระทบไม่รู้ตัว

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด