logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

       นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากนโยบายของนพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่ต้องการให้มีการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (Unit cost) ของโรงพยาบาล เพราะเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพของโรงพยาบาลได้ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยมีการคำนวณมาก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อมูลไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม สปสช.และ สธ.ได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล โดยคำนวณจากข้อมูลตั้งแต่ ก.ค. 2555 – มิ.ย. 2556 ทั้งโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) และโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) ทั้งหมด 835 แห่ง แต่สามารถคำนวณจากโรงพยาบาลที่มีข้อมูลครบถ้วนได้ 714 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.5
       
        นพ.วินัย กล่าวอีกว่า การคำนวณต้นทุนต่อหน่วย จะแบ่งโรงพยาบาลออกเป็น 6 กลุ่มตามขนาด และพิจารณาต้นทุนต่อหน่วยทั้งการให้บริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ป่วยนอก พบว่า รพช.ขนาด 10-30 เตียง จำนวน 420 แห่ง มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุดอยู่ที่ 297.55 บาทต่อครั้ง สูงสุด 1,203.26 บาทต่อครั้ง กลุ่ม รพช.ขนาด 60-90 เตียง จำนน 188 แห่ง ต่ำสุด 286.70 บาทต่อครั้ง สูงสุด 745.62 บาทต่อครั้ง กลุ่ม รพช.ขนาดมากกว่า 90 เตียง จำนวน 23 แห่ง ต่ำสุด 364.32 บาทต่อครั้ง สูงสุด 700.65 บาทต่อครั้ง กลุ่ม รพท.ขนาดต่ำกว่า 300 เตียง จำนวน 18 แห่ง ต่ำสุด 581.67 บาทต่อครั้ง สูงสุด 1,114.99 บาทต่อครั้ง กลุ่มรพท.ขนาดมากกว่า 300 เตียง จำนวน 42 แห่ง ต่ำสุด 409.17 บาทต่อครั้ง สูงสุด 1,279.19 บาทต่อครั้ง และกลุ่มรพศ.จำนวน 23 แห่ง ต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด 669.20 บาทต่อครั้ง สูงสุด 1,579.47 บาทต่อครั้ง
       
        นพ.วินัย กล่าวต่อไปว่า สำหรับต้นทุนต่อหน่วยผู้ป่วยใน พบว่า กลุ่ม รพช.ขนาด 10-30 เตียง ต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด 5,662.44 บาทต่อครั้งการนอน รพ.สูงสุด 22,897.95 บาทต่อครั้งการเข้านอน รพ.กลุ่ม รพช.ขนาด 60-90 เตียง ต่ำสุด 5,455.96 บาทต่อครั้งการนอน รพ.สูงสุด 14,189.09 บาทต่อครั้งการนอน รพ.กลุ่ม รพช.ขนาดมากกว่า 90 เตียง ต่ำสุด 6,933.08 บาทต่อครั้งการนอน รพ.สูงสุด 13,333.29 บาทต่อครั้งการเข้านอน รพ. กลุ่ม รพท.ขนาดน้อยกว่า 300 เตียง ต่ำสุด 11,069.13 บาทต่อครั้งการนอน รพ.สูงสุด 21,218.22 บาทต่อครั้งการนอน รพ.กลุ่มรพท.ขนาดมากกว่า 300 เตียง ต่ำสุด 7,786.58 บาทต่อครั้งการนอน รพ.สูงสุด 24,342.96 บาทต่อครั้งการนอน รพ.และ รพศ.ต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด 12,734.92 บาทต่อครั้งการนอน รพ.และสูงสุด 30,057.35 บาทต่อครั้งการนอน รพ.
       
        ต้นทุนต่อหน่วยของโรงพยาบาลจะมีทั้งค่าบุคลากร ค่ายาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของแต่ละกลุ่มโรงพยาบาล จะทำให้ทราบว่าโรงพยาบาลที่อยู่ในกลุ่มขนาดเดียวกัน ทำไมจึงมีต้นทุนต่อหน่วยที่แตกต่างกัน กลุ่มที่มีต้นทุนต่อหน่วยสูงเป็นเพราะสาเหตุใด ควรพิจารณาปรับลดต้นทุนลงหรือไม่ หรือควรเพิ่มการบริการให้มากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับต้นทุน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เป็นตัวกำหนดการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงพยาบาลได้” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
       
        นพ.วินัย กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบโรงพยาบาลในกลุ่มขนาดเดียวกันจะต้องแยกโรงพยาบาลที่อยู่ในเป็นพื้นที่ทุรกันดารออกมา เนื่องจากกลุ่มนี้จะมีต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าโรงพยาบาลขนาดเดียวกันแน่นอน เพราะมีความแตกต่างเรื่องของพื้นที่ตั้งของโรงพยาบาลที่กันดาร บนเกาะ บนดอย และห่างไกล

20 สิงหาคม 2556

Next post > รักแบบแม่ดาวในฮอร์โมนฯ :รักหรือทำร้ายลูก /สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน คอลัมน์ พ่อแม่ลูกปลูกรัก

< Previous post อึ้ง! รพ.687 แห่ง ขาดสภาพคล่อง “รายจ่ายสูงกว่ารายรับ”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด