logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: ไทยโพสต์

ฉบับวันที่: 4 พฤษภาคม 2016

กรมอนามัย เร่งสร้าง Care manager ลงพื้นที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุลดปัจจัยเสี่ยงโรคความดันสูง-เบาหวาน

กรมอนามัย เร่งสร้าง Care manager ลงพื้นที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุลดปัจจัยเสี่ยงโรคความดันสูง-เบาหวาน แนะหลักดูแลสุขภาพโดยยึดหลักปฏิบัติตามสูตร 3อ. 2ส. 1ฟ.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยนายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และภาคีเครือข่ายดำเนินงานโครงการฝึกอบรมผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) ปี ๒๕๕๙ เพื่อดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานที่พบว่าสูงถึงร้อยละ 95 พร้อมเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม

นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมหลักสูตรผู้จัดการการดูแลสุขภาพ Care Manager รุ่นที่ 1/2559 ภายใต้โครงการฝึกอบรมผู้จัดการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ (Care Manager) ปี 2559 ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี ว่า ประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 7.5 ล้านคนหรือร้อยละ 11.7 ในปี 2553 และเพิ่มเป็น 9.7 ล้านคนหรือร้อยละ 15 ในปี 2557 และร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุมีความเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ร้อยละ 41 โรคเข่าเสื่อม ร้อยละ 10 เป็นผู้พิการ ร้อยละ 9 โรคซึมเศร้า ร้อยละ 6 และผู้ป่วยนอนติดเตียง ร้อยละ 1 ขณะที่มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ไม่เป็นโรค และปัญหาสุขภาพดังกล่าวผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ เพียงร้อยละ 56 จากรายการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 โดยกรมอนามัยร่วมกับ สปสช.และ HITAP พบว่าผู้สูงอายุ 1 ใน 2 คน อ้วนและเป็นโรคอ้วนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 18.7 มีผู้สูงอายุอยู่คนเดียว จำนวนหกแสนคน หรือร้อยละ 7 และอยู่ลำพังกับคู่สมรสจำนวนหนึ่งล้านสามแสนคน หรือร้อยละ 16 ในปี 2555 นอกจากนี้ อายุที่สูงยิ่งเจ็บป่วย มีผู้สูงอายุเพียง 1 ใน 4 ที่มองเห็นชัดเจน และมีปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหารและสุขภาพช่องปากเกือบครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุ ร้อยละ 48 มีฟันแท้เหลือน้อยกว่า 20 ซี่ ซึ่งมีผลต่อการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ

นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อไปว่า จากปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุดังกล่าว รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้เร่งรัดการดำเนินงานพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่ง พิงรวมถึงผู้ป่วย ในระยะท้ายของชีวิตเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการดังนี้ 1) การคัดกรองเพื่อจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุตามภาวะพึ่งพิงและประเมินความจำเป็นด้านการสนับสนุนบริการและจัดบริกา รด้านสุขภาพและสังคม และ2) การจัดบริการด้านสุขภาพและสังคมรวมถึงมี Care giver และ Care manager อย่างพอเพียงในสัดส่วน Care manager 1 คน ต่อ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 40 คน และ Care giver 1 คนต่อผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 10 คน โดยให้บูรณาการเรื่องการนวดไทยเข้าไปในหลักสูตร Care Manager และ Care giver เพื่อช่วยดูแลผู้สูงอายุและผู้อยู่ในระยะพึ่งพิงรวมผู้พิการ กรมอนามัยจึงได้ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และภาคีเครือข่ายดำเนินงานโครงการฝึกอบรมผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) ปี 2559 ขึ้น เพื่อดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ผู้สูงอายุได้รับความคุ้มครองทางสุขภาพ โดยมีความรู้สึกปลอดภัย และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ให้สอดรับวิสัยทัศน์กระทรวงสาธารณสุขที่ว่า “ภายในทศวรรษต่อไป คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อ มอย่างยั่งยืน” โดยกำหนดผลกระทบระดับชาติ 10 ปี ไว้ คือ 1) อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดไม่น้อยกว่า 80 ปี และ2) อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 72 ปี

“ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุทุกคนจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลตนเองให้มากขึ้น และไม่ใช่แค่ตัว ผู้สูงอายุเองเท่านั้น ลูกหลานก็ต้องเอาใจใส่ในการดูแลผู้สูงอายุเป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีนั้น สามารถทำได้ด้วยหลัก 3 อ. 2 ส. 1 ฟ. เริ่มจาก 3 อ.ได้แก่ 1) อ.อาหาร กินครบ 5 หมู่ เพิ่มอาหารที่มีแคลเซียมสูง โปรตีน และเน้นอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ปลา ผักและผลไม้ 2) อ.อารมณ์ รู้จักผ่อนคลายอารมณ์เครียด หางานอดิเรกที่ชอบ พักผ่อนให้เพียงพอ 3) อ.ออกกำลังกาย โดยเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในระดับปานกลางอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือสะสมวันละ 10 นาที เช่น เดิน ปั่นจักรยาน รำมวยจีน 2 ส.ได้แก่ 1) ไม่สูบบุหรี่ 2) ไม่ดื่มสุรา และ 1 ฟ. คือ การดูแลทำความสะอาดฟันทุกวัน และแนะนำให้ผู้สูงอายุทำความสะอาดซอกฟันโดยใช้ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

10 มิถุนายน 2559

Next post > ดึงหมอรามาฯ อบรมครูประจำชั้น "ครูอนามัย" ดูแลสุขภาพ นร.

< Previous post กรมอนามัย จัดอบรมการดูแลผู้สูงอายุ แนะหลัก 3 อ. 2 ส. 1 ฟ.

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด