logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
คณะทำงานฯ เลือก 5 หัวข้อปัญหาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ เพื่อนำไปประเมินเทคโนโลยี ก่อนเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจบรรจุเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

การวินิจฉัยวัณโรคดื้อยา การคัดกรองและให้คำปรึกษาผู้มีปัญหาดื่มสุรา การตรวจสารบ่งชี้ภาวะครรภ์เป็นพิษในกลุ่มเสี่ยง การใช้ระบบนำวิถีช่วยผ่าตัดเนื้องอกสมอง และยาช่วยเลิกบุหรี่ทุกชนิด[1] คือ 5 หัวข้อหลักที่ได้รับการคัดเลือกโดยคณะทำงานคัดเลือกหัวข้อปัญหาสุขภาพและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ เข้าสู่การประเมินเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รอบที่ 1/2556

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 นักวิจัยจากโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) และ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ในฐานะฝ่ายเลขานุการโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้นของปัญหาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ทั้งสิ้น 11 หัวข้อที่ถูกเสนอจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และกลุ่มผู้ป่วย จากนั้นคณะทำงานฯ ลงมติเลือก 5 หัวข้อ เพื่อให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำไปศึกษาต่ออย่างละเอียดด้วยการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ก่อนจะนำเสนอผลการประเมินต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการ ที่จะทำหน้าที่ตัดสินใจบรรจุเทคโนโลยีด้านสุขภาพนั้น ๆ ในชุดสิทธิประโยชน์ของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อไป



[1] หัวข้อที่ได้รับเลือกเพื่อนำไปประเมินได้แก่

  1. การวินิจฉัยและติดตามการรักษาวัณโรคดื้อยา (ทั้ง Mutidrug-resistant TB (MDR-TB) และ Extensively drug resistance TB (XDR-TB) โดยขยายการตรวจความไวยาวัณโรคแนวที่หนึ่ง แนวที่สอง (First line and second line drug)
  2. โปรแกรมการคัดกรองผู้มีปัญหาการดื่มสุราและให้คำแนะนำปรึกษาเบื้องต้นในบริการสุขภาพ
  3. การเบิกจ่ายค่าตรวจ soluble fms-like tyrosine kinase-1 (sFlt-1) และ placental growth factor (PIGF) สำหรับหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษ
  4. การผ่าตัดด้วยระบบนำวิถีในผู้ป่วยโรคเนื้องอกสมอง
  5. เสนอให้ยาช่วยเลิกบุหรี่ทุกชนิด คือหมากฝรั่งนิโคติน แผ่นปิดนิโคติน บิวโพรพิออน และวาเร็นนิคคลีนในอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

 

16 พฤษภาคม 2556

Next post > HITAP หารือผู้เชี่ยวชาญเรื่องมาตรการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

< Previous post HITAP เข้าร่วมประชุม HTAsiaLink ครั้งที่ 2 ณ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด