โรคหืด พบได้ในทุกช่วงอายุ เป็นโรคไม่ติดต่อที่ เป็นปัญหาสุขภาพที่สาคัญของหลายประเทศ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า มีผู้ป่วยโรคหืดราว 235 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโรคหืดมากที่สุดคือเด็ก เพราะโรคหืดส่ง ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิต อีกทั้งต้องอาศัยการดูแลใกล้ชิดจากครอบครัว อย่างไรก็ตาม หากสามารถตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถคุมอาการจับหืดได้ ปัญหาสำ คัญที่พบ คือ ผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ทันเวลา ส่งผลให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จนไม่สามารถควบคุมอาการได้ มีการประมาณการว่า หากทั่วโลกไม่มีการพัฒนาระบบจัดการโรคหืดที่ดีขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้าจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหืดจะเพิ่มสูงขึ้น
ในทุก ๆ ปี หน่วยงานที่ทำ เรื่องโรคหืด ในระดับโลกอย่าง Global Initiative for Asthma (GINA) ได้กำหนดให้ทุกวัน อังคารแรกของเดือนพฤษภาคม เป็นวันโรคหืดสากล เพื่อรณรงค์ให้เห็นความสาคัญของการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดจุลสารฉบับนี้จึงนำความคืบหน้าของการจัดการโรคหืดในประเทศไทยมาฝาก เมื่อปลายปี พ.ศ. 2558 คณะกรรมการปรับปรุงแนวทางการรักษาและป้องกันโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ป่วยเด็ก ได้ร่วมกันพัฒนา แนวทางการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ป่วยเด็ก ฉบับย่อ ประจำปีพุทธศักราช 2558-2559 แนวทางดังกล่าวมีความแตกต่างจากแนวทางที่ผ่านมาอย่างไร ติดตามได้ที่คอลัมน์พิเศษหน้า 10
สำหรับสกู๊ปหลักของจุลสารเล่มนี้ เราไปติดตามบทสัมภาษณ์ของ แพทย์ พยาบาล เภสัชและผู้เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคหืดในเด็กว่า เมื่อหน้าที่การดูแลหอบหืดเด็ก ไม่ได้จำกัดอยู่ที่หมอทำอย่างไรถึงมีระบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน หน้า 4