logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ผลทดสอบตัวชี้วัดและเตรียมคัดเลือกเพื่อการพัฒนาและนำไปใช้จริงในโครงการ QOF

โครงการพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระยะที่ 2 ทดสอบตัวชี้วัด รายงานผลและเตรียมคัดเลือกเพื่อการพัฒนาและนำไปใช้จริง

เมื่อวันที่ 1, 11 และ 15 มีนาคม 2559 โครงการพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระยะที่ 2 โดย HITAP ได้มีกิจกรรมดังนี้

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559 Dr. Françoise Cluzeau จาก NICE International Dr. Paramjit Gill และ Dr. Rachel Foskett – Tharby จากสถาบัน National Collaborating Center for Indicator Development (NCCID) แห่ง University of Birmingham สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาตัวชี้วัดมาดูงานและเยี่ยมชมการให้บริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิที่ รพ.ลาดหลุมแก้ว และรพ.สต.บ้านใหม่ จ.ปทุมธานี โดยผู้เชี่ยวชาญทั้งสองให้ความเห็นว่า จากการสังเกตการณ์การทำงานในทั้งระดับโรงพยาบาลชุมชนและรพ.สต. ครั้งนี้นั้น คิดว่าภาระงานของผู้ปฏิบัติงานนั้นมีจำนวนมาก ดังนั้นการพัฒนาตัวชี้วัดต่างๆ ควรต้องคำนึงถึงเรื่องภาระงานไปพิจารณาด้วย ต้องแน่ใจว่าตัวชี้วัดต่างๆ ที่นำไปใช้นั้นต้องไม่มีจำนวนที่มากเกินไป มีการตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ และการให้บริการตามตัวชี้วัดจะไม่เป็นการเพิ่มภาระงานของผู้ปฏิบัติงาน

จากนั้นวันที่ 11 มีนาคม 2559 เวลา 9.00 -12.00 น. คณะวิจัยได้จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาผลการทดสอบตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณต่อกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งการบริหารจัดการโครงการ QOF ในอนาคต โดยมีผู้เข้าร่วมจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เป็นต้น และในวันเดียวกัน เวลา 13.30 – 16.30 น. คณะวิจัยได้นำเสนอผลทดสอบตัวชี้วัดดังกล่าวต่อ กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย โดยมีผู้เข้าร่วมจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับข้อค้นพบของทีมวิจัย และได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทดสอบตัวชี้วัดเพิ่มเติม รวมทั้งข้อเสนอแนะต่อการบริหารโครงการ QOF โดยหลังจากนี้คณะวิจัยจะนำเสนอผลการทดสอบตัวชี้วัดเหล่านี้และการบริหารจัดการโครงการ QOF ที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการกำกับทิศของโครงการต่อไป

วันที่ 15 มีนาคม 2559 คณะวิจัยได้จัดประชุมคณะกรรมการกำกับทิศของโครงการฯ ครั้งที่ 4 เพื่อนำเสนอผลการทดสอบตัวชี้วัดคุณภาพทั้ง 24 ตัวชี้วัด ในหน่วยบริการปฐมภูมิ 35 แห่ง ใน 4 จังหวัด ในประเด็น ความน่าเชื่อถือ การยอมรับและปฏิบัติตาม การมีอยู่ของข้อมูล และภาระงานและต้นทุน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการโครงการ QOF ในอนาคต เช่น กรอบเวลาการดำเนินโครงการในรอบถัดไป การจัดสรรงบประมาณ การคำนวณคะแนนตัวชี้วัด เป็นต้น คณะกรรมการ ฯ มีมติคัดเลือกตัวชี้วัด 10 ตัวเพื่อดำเนินการในปีงบประมาณ 2560 รวมทั้งเสนอให้คณะวิจัยจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการเสนอตรงต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไป

ติดตามรายงานการประชุมทั้งหมดได้ที่ https://www.hitap.net/research/164380

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

5 เมษายน 2559

Next post > ผลเบื้องต้นคัดกรองมะเร็งช่องปาก คุ้มค่าหรือไม่

< Previous post Journal Club: How to give a good presentation

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด