logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
นำเสนอผลเบื้องต้นความคุ้มค่าการรักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง

HITAP นำเสนอผลการวิจัยการประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบด้านงบประมาณของยารักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังในกลุ่มใหม่ดีเอเอที่มีราคาแพง

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2559 คณะวิจัย HITAP โครงการ “การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และผลกระทบด้านงบประมาณของการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง” นำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การศึกษานี้เปรียบเทียบสูตรยามาตรฐาน (pegylated interferon ร่วมกับ ribavirin) และยาใหม่ในกลุ่มดีเอเอ (Direct-acting antiviral agents) ที่มียา sofosbuvir ร่วมกับ daclatasvir หรือ ledipasvir

ภายหลังการนำเสนอ ประชุมเห็นชอบกับผลการวิจัยเบื้องต้น แต่มีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงข้อมูลบางอย่างเพื่อให้สะท้อนกับบริบทของประเทศและแนวทางการรักษาในปัจจุบัน ได้แก่ ข้อมูลใหม่เรื่องความชุกของผู้ป่วยและประสิทธิภาพของยาในบางสูตรการรักษา นอกจากนี้ที่ประชุมเสนอให้วิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของการคัดกรองและรักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังในประชากรทั่วไป โดยแบ่งตามรายอายุที่มีความชุกของโรคสูง

ติดตามรายงานการประชุมได้ที่ https://www.hitap.net/research/139500

20 มีนาคม 2559

Next post > นำเสนอผลประเมินความคุ้มค่ายา tiotropium รักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

< Previous post หลายฝ่ายเห็นด้วย ทางเลือก ตั้ง 3 องค์กรอิสระด้าน อาหาร สารเคมี และยา ดูแลอนาคตผู้บริโภคไทย

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด