logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354009165&grpid=&catid=09&subcatid=0902

แพทย์เตือน ดื่ม “น้ำเกรพฟรุ๊ต” พร้อม “ยา 43 ชนิด” อาจอันตรายถึงชีวิต

          การรับประทานหรือดื่มน้ำ”เกรพฟรุ๊ต”อาจส่งผลให้เกิดอาการโอเวอร์โดสหรือการเพิ่มระดับของยาในเลือด เนื่องจากน้ำดังกล่าวจะมีฤทธิ์ทำให้ยาไม่แตกตัวในลำไส้และตับ และนักวิจัยที่สังเกตเห็นการเชื่อมโยงดังกล่าวเตือนว่า ชนิดของยาที่เป็นอันตรายกับน้ำเกรพฟรุ๊ตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

          สถาบันวิจัยสุขภาพลอว์สันจากมหาวิทยาลัยเวสต์เทิร์น ออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งเปิดเผยรายงานดังกล่าวในวารสารสมาคมการแพทย์แคนาดา เปิดเผยว่า ชนิดของยาที่มีผลข้างเคียงในระดับรุนแรงต่อน้ำเกรพฟรุ๊ต เพิ่มขึ้นจาก 17 ชนิด ในปี 2008 เป็น 43 ชนิด ในปี 2012 โดยประเภทของยาที่มีผลข้างเคียงในระดับอันตราย อาทิ ยาลดความดันเลือดสูง ยามะเร็ง และยาลดระดับคอเลสเตอรอล หรือยาที่ใช้เพื่อกดระบบภูมิต้านทาน หลังจากเข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ สารเคมีในผลเกรพฟรุ๊ต หรือ”furanocoumarins” จะเป็นตัวขจัดเอ็นไซม์ที่มีหน้าที่ทำให้ยาแตกตัว ซึ่งหมายความว่าจะมียาจำนวนมากที่ไม่ถูกดูดซึมผ่านระบบการย่อยอาหารที่สะสมในเลือดใรนระดับมากกว่าที่ร่างกายจะจัดการได้

          โดยมีรายงานว่า ผู้ป่วยที่ดื่มน้ำเกรพฟรุ๊ตหนึ่งแก้ว พร้อมกับยา felodipine ซึ่งเป็นหนึ่งในยาลดความดัน ส่งผลให้มีระดับยาสูงสุดในพลาสมาสูงกว่าผู้ป่วยที่ดื่มน้ำเปล่าถึง 3 เท่า ขณะที่ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับประเภทของยา ซึ่งรวมถึงอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ไตเสียหายเฉียบพลัน หรือเสียชีวิต

          ดร.เดวิด ไบลีย์ หนึ่งในทีมนักวิจัยกล่าวว่า การทานยาหนึ่งเม็ดร่วมกับน้ำเกรพฟรุ๊ตหนึ่งแก้ว อาจส่งผลให้เกิดอาการคล้ายการทานยา 5 หรือ 10 เม็ดพร้อมกันพร้อมน้ำหนึ่งแก้ว และคนส่วนใหญ่มักไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้จริง เนื่องจากการขาดการให้ความเข้าใจต่อผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีอาการปกติ อาจมีอาการถึงขึ้นเสียชีวิต เพียงเพราะกินยาและน้ำดังกล่าวพร้อมกัน นอกจากนั้น การรับประทานส้มที่เรียกว่า Seville orange ที่มักเป็นส่วนประกอบในการทำน้ำมะนาว รวมถึงมะนาวบางประเภทยังอาจส่งผลกระทบเช่นเดียวกัน

         ผู้เชี่ยวจากชาญสมาคมเภสัชศาสตร์อังกฤษเปิดเผยว่า เกรพฟรุ๊ตไม่ได้เป็นอาหารประเภทเดียวที่ก่อให้เกิดอันตรายเท่านั้น แต่ในบางกรณี นมสดก็อาจยับยั้งการดูดซึมยาปฏิชีวนะบางประเภทได้ หากดื่มพร้อมกัน

28 พฤศจิกายน 2555

Next post > พึ่งยาระบายเป็นประจำทำ "ลำไส้เป็นอัมพาต"

< Previous post วิธีรับมือภัยเสี่ยงเทศกาลลอยกระทง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด