logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%89-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%AF

สพฉ. ตรวจสอบมาตรฐาน-ขึ้นทะเบียนรถกู้ชีพในพื้นที่กรุงเทพฯ

นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เปิดโครงการ “คน กทม. รอดปลอดภัย เทิดไท้องค์ราชัน 85 ” โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมขนส่งทางบก จัดขึ้นทะเบียนรถปฏิบัติการฉุกเฉินในพื้นที่กทม. โดยมีหน่วยกู้ชีพจากมูลนิธิต่างๆ นำรถปฏิบัติการกู้ชีพจำนวนกว่า 100 คัน มารับการตรวจมาตรฐานและขึ้นทะเบียนรับรองว่าได้มาตรฐาน พร้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน

รถกู้ชีพที่เข้าตรวจมาตรฐาน ต้องผ่านการตรวจหลักฐานทะเบียนรถ ภาพถ่ายรถ หนังสือรับรองจากต้นสังกัด การตรวจไฟวับวาบ ตรวจสภาพรถ ไฟสัญญาณที่ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และอุปกรณ์มาตรฐานรถปฏิบัติการฉุกเฉิน ก่อนที่จะมีการออกหนังสือพร้อมสติ๊กเกอร์รับรองมาตรฐาน เพื่อนำไปติดรถเป็นสัญลักษณ์ว่าได้ผ่านการตรวจมาตรฐานรถปฏิบัติการฉุกเฉินเรียบร้อยแล้ว

เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ บอกว่า ปัจจุบันทั่วประเทศ มีรถปฏิบัติการฉุกเฉินกว่า 12,000 คัน เฉพาะในพื้นที่กทม. มีจำนวน 2 พันคัน ซึ่งการขึ้นทะเบียนครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกของกทม. หลังจากปริมณฑลและต่างจังหวัดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และ จากสถิติของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พบว่า ร้อยละ 70 ถึง 80 ของรถดังกล่าวสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือประชาชนได้รวดเร็วมากกว่ารถพยาบาล ดังนั้น การขึ้นทะเบียน นอกจากจะช่วยคุ้มครองผู้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ยังทำให้ประชาชนมั่นใจในระบบการทำงานของผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน รวมทั้ง รถและอุปกรณ์ทางการแพทย์ฉุกเฉินว่าพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่

สพฉ. จะเปิดรับขึ้นทะเบียน รวมทั้ง เปิดให้ผู้ที่สนใจรับการอบรมการปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นเป็นระยะเวลา 1 ปี นอกจากนี้ ยังหารือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ช่วยอำนวยความสะดวกให้รถกู้ชีพสามารถขึ้นทางด่วนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยทันท่วงที เนื่องจากหลายโรงพยาบาลตั้งอยู่ใกล้กับทางด่วนในหลายจุด

13 พฤศจิกายน 2555

Next post > กรมวิทยาศาสตร์ฯเตือนผู้บริโภค "ปลาดุกย่าง" ปนเปื้อนสารก่อมะเร็งสูงถึง 81 %

< Previous post อย.เข้มตรวจอาหารนำเข้า พบสารเคมีผักผลไม้เพียบ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด