logo

รหัสโครงการ

11-3-0032558(1)

คณะผู้วิจัย

นักวิจัยหลัก

นักวิจัยร่วม

-

รายละเอียดโครงการ

สถานะงานวิจัย

งานวิจัยเสร็จสิ้น - 100%

จำนวนผู้เข้าชม: 4233 คน

วันที่เผยแพร่ 3 มกราคม 2558 04:58

เกี่ยวกับโครงการ

spirometry เป็นวิธีการตรวจสมรรถภาพปอด (pulmonary function test) โดยการวัดปริมาตรของลมที่เป่าออกจากปอดอย่างแรงและเร็วเพื่อตรวจสอบการทำงานของปอดและทางเดินหายใจ การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีนี้นับเป็นวิธีการมาตรฐาน (gold standard) สำหรับการวินิจฉัยโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวินิจฉัยแยกโรคระหว่างโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease หรือ COPD) และโรคหืด (asthma) นอกจากนี้ การตรวจดังกล่าวยังมีประโยชน์ในการติดตามการรักษาหรือการดำเนินโรคต่างๆที่เกี่ยวกับระบบหายใจ การประเมินความทุพพลภาพในผู้ป่วยที่เกิดโรคจากการทำงาน การประเมินความเสี่ยงเพื่อทำประกันสุขภาพ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การให้บริการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธี spirometry นี้ยังประสบกับปัญหาหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ เช่น ปัญหาเรื่องจำนวนและการกระจายของเครื่อง spirometer รวมถึงบุคลากรที่ผ่านการอบรมและได้รับการรับรองในการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีดังกล่าวจากสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ปัญหาเรื่องการสรรหาและการเลือกซื้อเครื่อง spirometer การขาดแคลนอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับเครื่อง spirometer ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดการเข้าถึงบริการดังกล่าวที่ไม่มีประสิทธิภาพและเกิดความไม่เท่าเทียมกันของประชาชนได้ ดังนั้น โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงและประเมินความเป็นไปได้/ความเหมาะสมในการลงทุนเพื่อให้มีบริการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธี spirometry ในโรงพยาบาลชุมชน โดยพิจารณาองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ การมีอยู่ของบริการ (availability) ความสามารถในการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย (accessibility) ความเหมาะสมของบริการ (appropriateness) ในบริบทของโรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทย และความสามารถในการจ่าย (affordability) ของภาครัฐและผู้ให้บริการ ทั้งนี้ ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ได้มาจากฐานข้อมูลผู้ป่วยในสิทธิการรักษาต่างๆ การสำรวจโดยใช้แบบสอบถามทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติงานและผู้กำหนดนโยบายทั้งในระดับชาติและระดับโรงพยาบาล โดยมีระยะเวลาในการศึกษาโครงการฯ รวม 8 เดือน (เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559) ผลการศึกษาที่ได้จะทำให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องเข้าใจถึงสถานการณ์ของการให้บริการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธี spirometry ในโรงพยาบาลชุมชนทั้งในแง่มุมของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ รวมถึงสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการเครื่อง spirometer และการให้บริการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่องดังกล่าวในโรงพยาบาลชุมชนต่อไปในอนาคต

เอกสารเพิ่มเติม

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว