logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หลังเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินสารเคมี กรมควบคุมมลพิษ ตรวจพบสารตะกั่วปนเปื้อนในสีที่เคลือบบนจานสังกะสีของโรงเรียนวัดปทุมาวาส อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เเละตั้งข้อสงสัยว่า จานสังกะสี อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการปนเปื้อนสารตะกั่วในเลือดของนักเรียนเกินค่า มาตรฐาน

กรดอะซิตริกหรือน้ำส้มสายชู ในจานสังกะสี ถูกวรรณภา ตันยืนยงค์ หัวหน้ากลุ่มโลหะเเละธาตุปริมาณน้อย กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำมาสาธิตเพื่อเป็นตัวอย่าง ในการทดสอบตรวจหาสารตะกั่ว ในวัสดุสัมผัสอาหาร โดยใช้กรดอะซิตริกเป็นสารประกอบ เเทนอาหารที่มีคุณสมบัติเป็นกรด ซึ่งทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในอุณหภูมิ บวกลบไม่เกิน 22 องศาเซลเซียส ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง เพื่อรอให้กรดอะซิตริกทำปฏิกิริยากับวัสดุที่ทดสอบ

จากนั้นตัวอย่างสารที่ได้ จะถูกส่งมาทดสอบอีกครั้งในเครื่อง ไอซีพี โออีเอส

เพื่อทำการประมวลผลหาค่าสารตะกั่ว ผลที่ได้ก็จะปรากฏขึ้น ซึ่งเกณฑ์กำหนดปริมาณตะกั่วขึ้นอยู่กับขนาด เเละความลึกของวัสดุที่ต้องการทดสอบ อย่างจานสังกะสีใบนี้ เกณฑ์กำหนดปริมาณตะกั่วจะต้องไม่เกิน 5.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หากผลที่ออกมาเกินกว่านี้ ถือว่าวัสดุที่ทดสอบ มีตะกั่วปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งอาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ

จานสังกะสีนิยมใช้กันโดยทั่วไป เนื่องจากมีราคาถูกและน้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่าย ทีมข่าวจึงสอบถามการใช้จานสังกะสีในโรงครัวของวัดเกตุประภา ใน อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ซึ่งนายสมชาย ชื่นจรูญ กรรมการวัดเกตุประภา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี บอกว่ายังมีการใช้จานสังกะสี เเม้ว่าจะเหลือจำนวนไม่มากนัก หากเทียบกับเมื่อก่อน โดยจะนำมาใช้เมื่อจานกระเบื้องของวัดมีไม่พอ

เเม้ขณะนี้ ยังไม่มีผลทดสอบออกมายืนยันว่าสีที่ใช้เคลือบบนจานสังกะสี จะมีปริมาณสารตะกั่วเกินค่ามาตรฐานหรือไม่ โดยเฉพาะการตรวจพบ การปนเปื้อนสารตะกั่นในเลือดของนักเรียนโรงเรียนวัดปทุมาวาส ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง แต่การสุ่มตรวจเบื้องต้นพบว่า สีที่ใช้เคลือบวัสดุที่เป็นโลหะ จะมีสารตะกั่วปนเปื้อน เเม้จะพบในมีปริมาณไม่มาก เเต่ ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินสารเคมี นักวิชาการสารเคมี  กรมควบคุมมลพิษ เเนะนำว่าหากหลีกเลี่ยงได้ ก็ไม่ควรนำมาใช้

อีกประการหนึ่งข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า สารตะกั่วเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะมีฤทธิ์ทำลายระบบประสาทเเละสมอง รวมถึงทำลายไตเเละเม็ดเลือดเเดง หากเป็นเด็กเล็ก เเม้ได้รับเพียงปริมาณน้อย เเต่ก็ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ซึ่งพิษเหล่านี้จะค่อยๆสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

วันพรุ่งนี้(13 ก.ย.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ จะลงพื้นที่เก็บตัวอย่างวัสดุต้องสงสัยใน ร.ร.วัดปทุมาวาส จ.ระยอง อีกครั้ง เพื่อนำจานสังกะสีและวัสดุต้องสงสัย มาทดสอบปริมาณตะกั่วว่าเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดหรือไม่

 

http://bit.ly/UMhIn7

13 กันยายน 2555

Next post > นักวิชาการเตือนวิกฤตอาเซียน ระวังต่างชาติเข้าชิงบริการสุขภาพไทย

< Previous post อย.แจงไม่ได้ยุบคณะอนุ กก.กำหนดราคากลางยา แค่ปรับเพิ่มภารกิจ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด