logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

นักวิทยาศาสตร์ในอังกฤษได้ทำการศึกษาพบว่า ทำไมและเหตุใดวิตามินดีในแสงแดด จึงช่วยให้ผู้ป่วยวัณโรคฟื้นตัวเร็วขึ้น 

นับตั้งแต่ช่วงปลาย คศ.1800 ก่อนหน้าการพัฒนายาปฏิชีวนะในช่วงยุค 1930 ผู้ป่วยวัณโรคมักถูกส่งตัวไปบำบัดในสถานที่ที่มีแสงแดด โดยเรียกการบำบัดนี้ว่า การบำบัดด้วยแดด (heliotherapy) หรือ การบำบัดด้วยแสง (phototherapy)การศึกษาที่นำโดยนักวิจัยชาวอังกฤษ พบว่าการรับวิตามินดีในระดับสูง ซึ่งร่างกายสามารถสร้างเองได้เมื่อสัมผัสกับแสงอาทิตย์ ให้ผลใกล้เคียงกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ที่พบว่าช่วยผู้ป่วยให้หายจากอาการปอดติดเชื้อได้เร็วขึ้น

คณะนักวิจัยในอังกฤษ แบ่งผู้ป่วยวัณโรค 95 คน ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยให้รับยาปฏิชีวนะแบบมาตรฐาน กลุ่มแรกรับวิตามินดีปริมาณสูงควบคู่ไปด้วยในช่วง 8 สัปดาห์แรก ขณะที่อีกกลุ่มรับยาหลอก พบว่า กลุ่มแรกมีตัวบ่งชี้อาการอักเสบในกระแสเลือดลดลงมากและเร็วกว่ากลุ่มหลัง นอกจากนี้ กลุ่มแรกยังขจัดไมโคแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นวัณโรค ออกจากเสมหะได้เร็วกว่า โดยใช้เวลา 23 วันก็ไม่สามารถตรวจพบได้จากกล้องจุลทรรศน์ ขณะที่กลุ่มหลังต้องใช้เวลานานถึง 36 วัน 

นายแพทย์เอเดรียน มาร์ติโน อาจารย์ผู้สอนด้านการติดเชื้อในระบบหายใจและภูมิคุ้มกัน จากมหาวิทยาลัยควีน แมรี่ ในกรุงลอนดอน ในฐานะหัวหน้าคณะวิจัย กล่าวว่า วิตามีนดีในระดับสูงจะช่วยลดปฏิกิริยาตอบสนองต่อการอักเสบของร่างกายที่มี ต่อการติดเชื้อ ลดความเสียหายอันจะเกิดขึ้นกับปอด ที่ทำให้ผู้ป่วยมีช่วงเวลาการติดเชื้อที่สั้นลง และอาจช่วยลดความสียหายต่อปอดลงด้วย

คณะนักวิจัยระบุว่า อาการอักเสบจากการติดเชื้อวัณโรคอาจทำให้เนื้อเยื่อปอดเสียหาย กลายเป็นจุดดำที่เห็นได้เมื่อเอ็กซเรย์และเป็นแหล่งสะสมเชื้อวัณโรค หากช่วยให้จุดดำเหล่านี้หายได้เร็ว ผู้ป่วยก็จะติดเชื้อเป็นเวลาน้อยลง และปอดจะเสียหายน้อยลง การที่วิตามินดีช่วยลดอาการอักเสบโดยไม่กระทบต่อการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีแก่ผู้ป่วยโรคปอดติดเชื้อต่าง ๆ 

วัณโรคเป็นโรคโบราณที่ยังคงระบาดจนถึงทุกวันนี้  โดยในปี 2010 ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อถึง 8.8 ล้านคน เสียชีวิต 1.4 ล้านคน และเริ่มพบวัณโรคดื้อยาแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว จุดกระแสเรียกร้องให้มีการวิจัยหาทางรักษาแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1346758879&grpid=03&catid=09&subcatid=0902

 

 

 

 

4 กันยายน 2555

Next post > สาธารณสุขไทยและภูฏาน ร่วมมือพัฒนาห้องแล็บ-ยา-วัคซีน

< Previous post สธ.สรุปบทเรียนน้ำท่วมพบขาดการบูรณาการแผนเมื่อเกิดภัยพิบัติ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด