logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สาธารณสุข เผยส้วมแบบนั่งยองงอเข่า ทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก เร่งข้อเข่าเสื่อมเร็ว รณรงค์ปชช.ใช้โถส้วมแบบนั่งราบห้อยขาแทน ขณะที่บ้านเรือนยังใช้ส้วมนั่งยองมากถึงร้อยละ 86

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 55  กระทรวงสาธารณสุข จัด ทำโครงการ 4 ปี รณรงค์ประชาชนใช้โถส้วมแบบนั่งราบห้อยขาแทนส้วมแบบนั่งยอง เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อป้องกันปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อม ชี้ผลเสียการนั่งยองงอเข่า ทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก เร่งข้อเข่าเสื่อมเร็ว ตั้งเป้าภายในปี 2559 บ้านเรือนร้อยละ 50 สถานที่สาธารณะ 12 ประเภท อาทิ สถานที่ท่องเที่ยว ตลาดร้อยละ 90 จะมีส้วมชนิดนั่งราบห้อยขาใช้ เผยสถานการณ์ล่าสุด พบคนไทยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมกว่า 6 ล้านคน พบทั้งผู้สูงอายุและวัยกลางคนมากขึ้น ขณะที่บ้านเรือนยังใช้ส้วมนั่งยองมากถึงร้อยละ 86

นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิด เผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มว่าผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2553 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุจำนวน 7.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11.3 ของประชากรทั้งหมด และจากสถิติของผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในไทยของมูลนิธิโรคข้อ พบว่าในปี 2549 ไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมกว่า 6 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกทุกๆปี โดยในอดีตโรคข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ แต่ทุกวันนี้พบในอายุน้อยลง ในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี ผู้ชายจะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง ในกลุ่มอายุมากกว่า 45 ปี ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย และยังพบอีกว่าทั้งชายและหญิงที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป จะป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าร้อยละ 80-90 ทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเสริมหลายๆ อย่างประกอบกัน เช่น อ้วน อายุมาก การนั่งยองๆ หรือนั่งพับเพียบบ่อยๆนานๆ กระทำติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี หรือการได้รับบาดเจ็บที่บริเวณข้อเข่า เป็นต้น 

          นายแพทย์สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า ในการลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมเร็ว และชะลอภาวะข้อเข่าเสื่อมของประชาชน ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้มอบให้กรมอนามัยจัดทำโครงการ “ปลดทุกข์ด้วยรอยยิ้ม โถห้อยขาเสริมสุขผู้สูงวัย พ.ศ. 2556-2559” เพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนไทยทุกครัวเรือน พร้อมใจกันเปลี่ยนโถส้วมจากชนิดนั่งยองๆ หรือที่เรียกว่าส้วมซึม หันมาใช้โถส้วมแบบนั่งราบห้อยขา หรือที่เรียกกันติดปากว่าส้วมชักโครกให้ได้ร้อยละ 50 ภายในปี 2559 ส่วนสถานที่สาธารณะที่ประชาชนใช้บริการเป็นประจำ 12 แห่ง ได้แก่ 1. สถานที่ท่องเที่ยว 2. ตลาด 3. ร้านอาหาร 4. สถานศึกษา 5. สถานที่ราชการ 6. โรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข 7. ศาสนสถาน 8. ห้างสรรพสินค้า 9. สถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง 10. ส้วมริมทาง 11. สถานีขนส่ง และ 12. สวนสาธารณะ จะรณรงค์ให้ทุกแห่งปรับเปลี่ยนและเพิ่มโถส้วมแบบนั่งราบห้อยขาอย่างน้อย 1 ที่ ภายในปี 2559 และมีระบบการดูแลความสะอาด เพื่อให้เป็นส้วมที่ได้มาตรฐานความสะอาด ปลอดภัยทุกแห่ง โดยจะเสนอโครงการนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ 

          ทั้งนี้ ผลสำรวจล่าสุด ขณะนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่ยังนิยมการใช้โถส้วมชนิดนั่งยองสูงถึงร้อยละ 86 มีโถส้วมชนิดนั่งราบห้อยขาเพียงร้อยละ 13 และผลการสำรวจสถานที่สาธารณะต่างๆ เช่น ห้องอาหาร ปั๊มน้ำมัน ในปี 2554 พบว่ามีส้วมแบบนั่งราบห้อยขาแล้วร้อยละ 55 เท่านั้น การใช้โถส้วมชนิดนั่งราบห้อยขาจะลดผลกระทบต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อม แต่การใช้ส้วมนั่งยองจะทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก เพราะข้อเข่าต้องงอชิดกันมาก ทำให้ข้อเข่าค่อยๆเสื่อมลงไปเรื่อยๆโดยไม่รู้ตัว และการนั่งงอเข่าจะทำให้เส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงขาถูกกดทับ ทำให้เกิดอาการขาชา ขาอ่อนแรง และอาจหน้ามืด เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เป็นอัมพาต พิการ หรือเสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเข้ารักษาในแต่ละโรงพยาบาลมากกว่า 70 รายต่อปี ผู้ป่วยบางรายเสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเป็นเงินจำนวนมาก และยังไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ นายแพทย์สุรวิทย์กล่าว

 

http://bit.ly/PKksBP

20 สิงหาคม 2555

Next post > สธ.เตือนโรคอ้วนเสี่ยงมะเร็ง

< Previous post กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพทั่วประเทศยันไม่จ่ายค่าบริการ 30 บาทรวบรวมรายชื่อยื่นหนังสือทุกจังหวัด

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด