logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
อย.ไทย อย.เทศ…เรียนรู้เพื่อก้าวต่อ

โครงการวิจัย “อนาคต อย. อนาคตผู้บริโภคไทย” ได้ทบทวนข้อมูลระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากหลายประเทศเพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในงานวิจัย ว่าประเทศต่าง ๆ มีระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่เหมือน หรือต่างอย่างไร กับระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของเรา ข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้จัดทำข้อเสนอ แนะต่อการพัฒนาระบบและโครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในอนาคต

วันนี้เรามีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากครับ ทราบไหมครับว่าหน่วยงานที่ดูแลเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในแต่ละประเทศมีชื่อเรียกและขอบเขตการดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต่างกันไป

หน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้ง ในสหรัฐอเมริกา จีน และไทย คือหน่วยงานที่ชื่อว่า Food and Drug Administration หรือเรียกสั้น ๆ ว่า FDA สำหรับ FDA ของสหรัฐอเมริกานั้น มีกำลังเจ้าหน้าที่กว่าหนึ่งหมื่นสามพันคนเลยทีเดียว มีขอบเขตงานที่กว้างและหลากหลายมาก ดูภาพรวมตั้งแต่ อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สัตว์ และยาสูบ อีกทั้งยังมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น หน่วยงานควบคุมการโฆษณา หน่วยควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

ส่วน FDA ของจีน หรือที่เรียกว่า CFDA นั้น เน้นการดูแลเรื่องความปลอดภัยในอาหาร ยา เครื่องสำอาง และวัสดุทางการแพทย์เป็นหลัก ไม่ได้มีหน้าที่ควบคุมเรื่องผลิตภัณฑ์สัตว์ ยาสูบ หรือ วัตถุเสพติด

สำหรับสหภาพยุโรป มีหน่วยงานกลางคือEuropean Medical Agency มีผู้เชี่ยวชาญ ช่วย พิจารณาตำรับยากว่าสามพันคนทั่วยุโรป ซึ่งมีขอบเขตงานเฉพาะเรื่อง “ยา” เท่านั้น ส่วนด้านอื่น ๆ อย่าง เครื่องมือแพทย์ อาหารและเครื่องสำอาง ก็จะมีคณะกรรมการเฉพาะเรื่องไป

ในออสเตรเลียและญี่ปุ่น หน่วยงานหลักที่ดูแลการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ จะดูเฉพาะเรื่อง ยา และเครื่องมือแพทย์ ส่วนเรื่องอาหารและเครื่องสำอางเป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น

ที่น่าสนใจคือ หลายประเทศ แบ่งหน้าที่การดูแลเรื่องผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพออกอย่างชัดเจน และ มีหน่วยงานหลักที่ตั้งขึ้นเพื่อดูแลโดยเฉพาะ สำหรับประเทศไทย หลายท่านทราบดีว่าขอบเขตงานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของไทย มีภาระหน้าที่ดูแลครอบคลุมตั้งแต่ ยา อาหาร เครื่อง สำอาง เครื่องมือแพทย์ ไปจนถึง วัตถุอันตราย และวัตถุเสพติด จึงเกิดคำถามว่า แล้วหน้าที่ของ อย. ไทยในการดูแลผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพในปัจจุบันครอบคลุมหรือไม่ ควรจะเพิ่มหรือลดบทบาทใด เพื่อให้จัดการการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในภาพรวมของประเทศสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต

ส่งความคิดเห็นของท่านมาที่ [email protected] ความเห็นของท่านเป็นข้อมูลสำคัญแก่โครงการวิจัย“อนาคต อย.อนาคตผู้บริโภคไทย”

******************************************************************************************************
ช่องทางการร่วมกิจกรรม
เพียงตอบคำถามเหล่านี้
1. บทบาทหรือภาระงาน อะไรที่ อย. ควรทำต่อ/ทำเพิ่ม พร้อมเหตุผล
2. บทบาทหรือภาระงาน อะไรที่ อย. ควรลดบทบาทลง พร้อมเหตุผล

ผ่านช่องท่างเหล่านี้
1. ร่วมกิจกรรม ระดมสมอง มองอนาคต อย. อนาคตผู้บริโภคไทย วันที่ 2-4 กันยายน 2558 ที่ อาคาร 4 ชั้น 1 สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา
2. หรือ ส่งความเห็นของคุณมาที่ช่องทางเหล่านี้ ระหว่างวันที่ 1 – 25 กันยายน 2558
www.facebook.com/events/839729679456050/
อีเมล [email protected]
Line Group FutureFDA ผ่าน QR code นี้
QR code Line group FDA

27 สิงหาคม 2558

Next post > ปัญหาการจัดซื้อ “บอลลูนและขดลวด” สำหรับขยายหลอดเลือดหัวใจตีบในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

< Previous post มองอดีต สู่อนาคต อย. อนาคตผู้บริโภคไทย

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ