logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: ข่าวสด

ฉบับวันที่: 17 สิงหาคม 2015

เดินหน้าโครงการคัดกรองสายตาเด็กชี้ส่งผลเรียนรู้-พัฒนาของสมอง

นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) นำเสนอโครงการชัดแจ๋ว : ตรวจตาเด็ก…เพื่ออนาคตไทย ในงานแถลงข่าว “โครงการเมธีวิจัยอาวุโส เชื่อมงานวิจัยสู่นโยบาย” จัดโดย HITAP และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ว่า เด็กที่เกิดมาพร้อมภาวะสายตาผิดปกติ คือ สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง จะไม่ทราบว่าสายตาตัวเองผิดปกติ เพราะเห็นภาพมัวมาตั้งแต่เกิด จะรู้ได้เมื่อใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่เด็กมีปัญหาการเรียน หากไม่แก้ไขจะนำมาสู่ภาวะตาขี้เกียจ นำมาสู่ภาวะตาบอดได้

นพ.ยศกล่าวต่อว่า ไทยเคยลงนามมาแล้วกว่า 10 ปี ว่าจะร่วมคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติในเด็ก แต่ยังไม่สามารถทำได้ เพราะจักษุแพทย์และนักทัศนมาตรศาสตร์มีจำนวนน้อย HITAP ได้ศึกษาว่าหากพัฒนาระบบการคัดกรองสายตาผิดปกติในเด็ก และจัดหาแว่นสายตาให้เด็กก่อนวัยประถม เพื่อบรรจุลงในสิทฺประโยชน์หลักประกันสุขภาพ จะคุ้มค่าหรือไม่ โดยดำเนินโครงการในเด็กอายุ 3-12 ปี 5,461 คน และให้ครูประจำชั้นคัดกรอง โดยจัดทำคู่มือและอบรมให้ครู และพัฒนาอุปกรณ์ประเมินสายตาเด็ก จากเดิมใช้ตัวเลข ซึ่งเด็กอาจอ่านผิด มาใช้แผนภูมิรูปทรงแทน ในกลุ่มตัวอย่างมีเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสายตาผิดปกติ 6.6 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 300 คน จำเป็นต้องใช้แว่นสายตา 4.1 เปอร์เซ็นต์ ในจำนวนนี้มีแว่นใส่อยู่ก่อนหน้าแล้วเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ แต่แว่นเดิมมีความถูกต้องตามค่าสายตาเด็กเพียง 0.25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เมื่อเทียบกับจำนวนเด็กช่วงอายุดังกล่าวทั้งประเทศ

คาดว่าน่าจะมีเด็กที่มีสายตาผิดปกติ 5.7 แสนคน โดยประมาณ 3.5 แสนคน จำเป็นต้องใส่แว่น มีเด็กที่ตัดแว่นแล้วประมาณ 3.5 แสนคน จำเป็นต้องใส่แว่น มีเด็กที่ตัดแว่นแล้วประมาณ 8 หมื่นคน แต่ใส่แว่นถูกต้องกับค่าสายตาประมาณ 2 หมื่นคนเท่านั้น ซึ่งหากดำเนินการโครงการนี้ทั้งประเทศได้ จะสามารถช่วยเหลือการแก้ไขสายตาเด็กได้มากกว่า 3 แสนคน การคัดกรองแบบนี้จึงคุ้มค่า

ติดตามชมคลิปวีดีโอโครงการชัดแจ๋วได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=nhbq37eSbL4

17 สิงหาคม 2558

Next post > HITAPพบเด็กใส่แว่นไม่ตรงค่าสายตา

< Previous post เด็กไทย 6 หมื่นใส่แว่นไม่ตรงค่าสายตา

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด