logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หนังสือพิมพ์: มติชน

ฉบับวันที่: 14 สิงหาคม 2015

‘ไฮแทป’ดันตรวจยีนป้องกันผื่นแพ้รุนแรง

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ ไฮแท็ป (HITAP) และภญ.วรัญญา รัตนวิภาพงษ์ นักวิจัยไฮแท็ป ร่วมแถลงข่าว “โครงการเมธีวิจัยอาวุโส เชื่อมงานวิจัยสู่นโยบาย”

นพ.ยศแถลงว่า ได้ประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ของการใช้บริการตรวจยีน HLA-B*1502 (เอชแอลเอ บี 1502) เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงในกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome: SJS) และ หรือโรคเอสเจเอส Toxic epidermal necrolysis (TEN) จากยาคาร์บามาเซปีน (Carbamazepine) เนื่องจากพบว่ายีน HLA-B*1502 มีโอกาสพบมากในผู้ป่วยโรคลมชักและภาวะปวดปลายประสาท (Neuropathicpain)

“ที่ผ่านมาผู้ป่วยที่มีอาการผื่นแพ้ยาในกลุ่มนี้ทุกข์ทรมารมาก หากหาทางป้องกันด้วยการตรวจยีนได้ก็จะช่วยได้ทางหนึ่ง ทีมวิจัยจึงเสนอสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้เพิ่มเข้าสู่สิทธิประโยชน์ เบื้องต้นคณะอนุกรรมการสิทธิประโยชน์ของคณะกรรมการ สปสช. พิจารณาว่าควรมีการเพิ่มสิทธิดังกล่าว แต่ต้องเฉพาะผู้ป่วย 2 กลุ่มที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยว่าจำเป็นต้องตรวจ และจะมีการเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง บอร์ด สปสช.ต่อไป” นพ.ยศ กล่าว

ภญ.วรัญญา แถลงว่า การตรวจยีนกำลังเป็นที่น่าสนใจในวงการสาธารณสุข เพราะสามารถประเมินความเสี่ยงในการเกิดผื่นแพ้ยาของผู้ป่วยแต่ละคนได้ และว่า ยีนดังกล่าวพบมากในคนเอเชีย หากคนที่มียีนชนิดนี้ได้กินยาคาร์บามาเซปีนจะมีโอกาสขึ้นผื่นแพ้มากกว่า 55 เท่า ดังนั้น หากตรวจยีนนี้ได้ก็มีโอกาสลดการเกิดผื่นแพ้ ขณะที่ในไต้หวันประกาศให้มีการตรวจยีนชนิดนี้ในชุดสิทธิประโยชน์แล้ว

“ที่ผ่านมาสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 9 แห่ง และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง ได้พัฒนาวิธีการตรวจและเปิดให้บริการตรวจด้านเภสัชพันธุศาสตร์ รวมทั้งการตรวจคัดกรองยีนดังกล่าว จากการประมาณการมีผู้ป่วยใหม่ที่จะได้รับยาคาร์บามาเซปีน 14,183-55,314 คนต่อปี และในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็เปิดบริการตรวจดังกล่าวเช่นกัน” ภญ.วรัญญา แถลง

14 สิงหาคม 2558

Next post > ดันตรวจยีนก่อนใช้ยา ‘ลมชัก-ปวดปลายประสาท’

< Previous post ดันตรวจยีนกันแพ้ยารุนแรงเข้าบัตรทอง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด