logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

 “นพ.สุรวิทย์” เร่งแก้กฎหมายบริจาคดวงตาจากผู้เสียชีวิตแก้ไขปัญหาขาดแคลนดวงตาบริจาค เพื่อนำมาผ่าตัดเปลี่ยนให้ผู้ที่มีปัญหากระจกตาพิการ ตาบอด ขณะนี้เข้าคิวรอผ่าตัด จำนวน 7,606 คน แต่ได้รับการผ่าตัดน้อยมากเพียงร้อยละ 10 ต่อปี พร้อมให้ความรู้ความเข้าใจญาติเรื่องการบริจาคดวงตา เป็นกุศลอันสูงสุด
       
       นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สธ.ได้ เร่งดูแลช่วยเหลือผู้พิการตาบอดจากโรคกระจกตาพิการ ให้ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนใส่กระจกตา ปัจจุบันมีผู้ป่วยประสบปัญหาดังกล่าว และขึ้นทะเบียนรอดวงตาบริจาคจากศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทยกว่า 7,606 คน ได้รับการผ่าตัดน้อยมากเพียงร้อยละ 10 ต่อปี เฉลี่ยรอคอยนานถึง 3-4 ปี และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มปีละประมาณ 1,200 คน ในการแก้ปัญหาดังกล่าว สธ.ได้ร่วมมือกับศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย จัดโครงการจัดหาและบริการดวงตา เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา โดยมีเป้าหมายเพื่อผ่าตัดเปลี่ยนใส่กระจกตาให้ผู้ป่วยโรคกระจกตาพิการ หรือตาบอด ให้สามารถกลับมามองเห็นได้เหมือนปกติ จำนวน 8,200 คนทั่วประเทศ ระหว่าง พ.ศ.2552-2556 ตามโครงการนี้จะใช้ดวงตาบริจาคจากผู้เสียชีวิตมาเปลี่ยนให้ แม้ว่าปัจจุบันได้มีการคิดค้นกระจกตาเทียมเพื่อรักษาผู้ป่วยก็ตาม แต่ยังคงจำเป็นต้องใช้กระจกตาจริงของผู้เสียชีวิตแล้ว มาเป็นส่วนประกอบ เพื่อต่อกับกระจกตาเทียมในการผ่าตัด

 นพ.สุรวิทย์ กล่าวว่า ในการนำกระจกตาของผู้เสียชีวิตมารักษาผู้ป่วยกระจกตาพิการ จำเป็นต้องได้รับการยินยอมจากผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนตามกฎหมาย ซึ่งขณะ นี้มีความขาดแคลนดวงตาจำนวนมาก โดยมีผู้บริจาคดวงตาน้อยมากเพียงประมาณ 500 ดวงตาต่อปี ไม่เพียงพอกับผู้ป่วยที่เข้ารอคิวผ่าตัด ในการแก้ไขความขาดแคลนดวงตาบริจาค ได้วางแนวทางแก้ไข 2 แนวทาง แนวทางที่ 1 คือการขอให้แก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฯมาตรา 151 ให้สามารถเก็บดวงตาได้ก่อนการขออนุญาตผู้ที่มีสิทธิ์เกี่ยวข้องกับผู้ตาย เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลและพัฒนาสุขภาพผู้ป่วย ได้หารือกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง เช่น สภากาชาดไทย ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย และมีความเห็นตรงกัน ขณะนี้ได้ประสานกระทรวงยุติธรรมเพื่อพิจารณาแล้ว หากสำเร็จก็จะทำให้เก็บดวงตาจากผู้เสียชีวิตได้มากขึ้น เพิ่มโอกาสให้ผู้พิการตาบอดที่รอคิว สมหวังเร็วขึ้น
       
       แนวทางที่ 2 คือการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการบริจาคอวัยวะ สธ.ได้ให้โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วประเทศ ดำเนินการชี้แจง ทำความเข้าใจญาติ เพื่อแก้ไขทัศนคติความเชื่อ ซึ่งเป็นปัญหาหลักทำให้ประชาชนไม่นิยมบริจาคดวงตา คือความ ไม่รู้ ไม่เห็นคุณค่าของการบริจาค กลัวว่าบริจาคตาให้คนอื่นแล้ว หากเกิดใหม่ชาติหน้าตาจะบอด เพื่อให้ประชาชนร่วมกันบริจาคอวัยวะดังกล่าว ซึ่งจะได้บุญกุศลเพิ่มขึ้น เพราะมีประโยชน์กับคนป่วยอื่น เป็นการให้ชีวิตใหม่กับคนอีก 1-2 คน
       
       ทั้งนี้ ข้อมูลศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย พบว่า มีผู้แสดงความจำนงบริจาคดวงตาไว้ตั้งแต่ปี 2508 ถึงเดือนมิถุนายน 2555 จำนวน 820,549 คน มีผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแล้ว 8,259 คน ปัจจุบันมีผู้ป่วยรอรับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา 7,606 คนในเดือนมิถุนายน 2555 มีผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแล้ว 38 คน หากประชาชนมีความประสงค์จะบริจาคดวงตา สามารถแจ้งติดต่อได้ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดของกระทรวงสาธารณสุขได้ทั่ว ประเทศ หรือที่ศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย โทรศัพท์ 0-2256-4039-40 หรือ 0-2251-4200-1

 

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000095951

6 สิงหาคม 2555

Next post > 2 นักวิจัยการแพทย์คว้ารางวัลนักวิทย์ดีเด่น

< Previous post Caesarean sections result in infections for one in ten patients, study finds

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด