logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

จิตแพทย์ เผยผู้มีปัญหาการดื่มสุรา 98%เมินเข้ารับการบำบัด ชี้เสี่ยงเกิดสารพัดโรค พบกลุ่มติดเหล้าอายุน้อยลงทุกปี

พญ.พันธุ์นภา   กิตติรัตนไพบูลย์  จิตแพทย์ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต และ ผู้จัดการแผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.) กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยติดสุราเพิ่มมากขึ้น  ที่สำคัญพบผู้หญิงมากขึ้น และพบผู้ป่วยมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ สาเหตุหนึ่งมาจากเยาวชนหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่าย

นอกจากนี้ผู้ที่ติดสุราไม่ยอมรับว่าตนเองติดสุรา ดังนั้นการสังเกตอาการติดสุรา คือ  ดื่มเป็นประจำ หรือดื่มเกือบทุกวัน หากไม่ได้ดื่มจะมีอาการ เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิด กระสับกระส่าย เครียด โมโหง่าย มือไม้สั่น มีเหงื่อออกตามร่างกาย ฝันร้าย หูแว่ว ประสาทหลอน หรือมีอาการชัก โดยอาการมากน้อยแล้วแต่ความรุนแรงของการติดสุรา แต่อาการดังกล่าวสามารถปรึกษาแพทย์และรับการบำบัดรักษาได้อย่างปลอดภัย

“จากผลการสำรวจประชากรไทยอายุ 15-60 ปี พบผู้มีปัญหาการดื่มสุรามากถึง 5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นโรคติดสุรา 3 ล้านคน เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง และในพื้นที่ภาคเหนือ อีสานมีปริมาณสูงกว่าภาคอื่นๆ ทั้งนี้ข้อมูลที่น่าเป็นห่วง พบว่า ผู้ติดสุราขอเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลเพียง 2 %เท่านั้น แสดงว่าผู้ติดสุราอีก 98% ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา โดยมีสาเหตุที่ว่า  ตัวเองไม่ได้ติดสุรา” พญ.พันธุ์นภา กล่าว

สำหรับผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำที่คิดจะใช้ช่วงเทศกาลเข้าพรรษานี้เป็นจุด เริ่มต้นในการเลิกดื่ม อย่างแรกที่ต้องทำคือ  ต้องประเมินอาการของตนเองว่าที่ผ่านมาการดื่มสุราส่งผลกระทบกับร่างกาย รุนแรงแค่ไหน เคยมีอาการข้างต้นมากน้อยเพียงใดหากไม่ได้ดื่มหรือลดปริมาณการดื่มลง หากรุนแรงมากควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการบำบัดจะปลอดภัยที่สุด

ส่วนคนที่ดื่มไม่มากไม่เคยมีอาการดังกล่าวหรือมีเพียงเล็กน้อยและไม่มี โรคประจำตัวที่ควรเฝ้าระวัง ก็สามารถเลิกดื่มได้เอง  การฟื้นฟูของร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 5-7วันจะหายเป็นปกติ

อย่างไรก็ตาม การเลิกสุราไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่ทำได้ยากคือ ทำอย่างไรไม่ให้กลับไปดื่มซ้ำอีก เพราะหากผู้ป่วยยังอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ หาซื้อแอลกอฮอล์ได้ง่าย ก็จะเสี่ยงต่อการกลับไปดื่มซ้ำได้

 
http://bit.ly/OaQd2d
30 กรกฎาคม 2555

Next post > Doctor Shortage Likely to Worsen With Health Law

< Previous post จักษุแพทย์ ชี้ แท็บเล็ต มือถือทำเด็กไทยเสี่ยงป่วย โรค “คอมพิวเตอร์ วิชัน ซินโดรม”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด