logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

ผลวิจัยพบช่องว่างการรักษาผู้ป่วยสูงอายุขาดระบบดูแลระยะกลาง ทั้งการพยาบาล-กายภาพบำบัด ส่งผลอาการทรุดหลังกลับบ้าน

ในการประชุมเวทีนโยบาย ประเด็น “การดูแลระยะกลาง…สำหรับสังคมผู้สูงอายุ” เมื่อเร็วๆนี้ผศ.สุวิณี วิวัฒน์วานิช คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอผลวิจัยและข้อเสนอนโยบายเรื่อง “การศึกษาความพร้อมและความต้องการของผู้ป่วยที่ได้รับการจำหน่ายจากโรง พยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข: การสำรวจแบบเดียว” โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ผศ.สุวิณี กล่าวว่า สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วจากประชากรที่อายุยืนยาว ขึ้น แต่ตามมาด้วยจำนวนเจ็บป่วยที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากอายุที่มากขึ้น ทั้งจากโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์/อัมพาต โรคสมองเสื่อม ไตวาย และโรคเบาหวาน เป็นต้น ที่ต้องได้รับการรักษาดูแลอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยข้อจำกัดด้านทรัพยากร งบประมาณและการเบิกจ่ายที่เป็นไปตามนโยบายการวินิจฉัยโรค (diagnosis  related  group:DRG) เมื่อรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้จนพ้นระยะเฉียบพลันแล้ว ต้องจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ทั้งที่ผู้ป่วยและญาติขาดความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย

ทั้งนี้โดยเฉพาะการพยาบาลที่ซับซ้อน ขาดการเชื่อมต่อระหว่างสถานพยาบาลระยะเฉียบพลันและบ้านด้วยบริการสุขภาพระยะ กลาง ซึ่งมีระยะเวลาที่ชัดเจน  คือประมาณ 6 สัปดาห์ ในการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยเพื่อให้สามารถกลับมาปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ ก่อน ถือเป็นปัญหาสำคัญ เพราะผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการดูแลเหมาะสม อาจทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพอย่างถาวร   หรือมีอาการทรุดและต้องกลับเข้ารักษาซ้ำ ซึ่งค่ารักษาจะสูงกว่าครั้งแรก อย่าง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด

ผศ.สุวิณี กล่าวว่า จากปัญหาข้างต้นจึงได้ทำการศึกษาความพร้อมและความต้องการของผู้ป่วยที่ได้ รับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แบ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ 10 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไป 15 แห่งทั่วประเทศ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,186 ราย เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการจำหน่ายแต่ยังไม่สามารถกลับบ้านได้ เป็นชายร้อยละ 57.4 และหญิงร้อยละ 42.6 แบ่งเป็นกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 40 รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 26-50 ปีร้อยละ 31 และกลุ่มอายุ 51-60 ปีร้อยละ 17.5 จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยเกินครึ่งเป็นผู้สูงอายุ เฉลี่ยวันนอนโรงพยาบาล 6.5 วัน และส่วนใหญ่ใช้สิทธิการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าร้อยละ 77.2 รองลงมาเป็นสิทธิ์ข้าราชการร้อยละ 13.6 และสิทธิ์ประกันสังคมร้อยละ 6.8

เมื่อแยกผู้ป่วยตามการวินิจฉัย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความผิดปกติทางกระดูกและกล้ามเนื้อร้อยละ 37 รองมาเป็นความผิดปกติทางหลอดเลือดและหัวใจร้อยละ 27 และความผิดปกติระบบทางเดินหายใจร้อยละ 16 ความผิดปกติทางสมอง ไขสันหลังและความผิดปกติทางเดินอาหารร้อยละ 14 และ 6 ตามลำดับ และเมื่อจำแนกตามปัญหาสุขภาพ จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีปัญหาภาวะอ่อนเพลียมีข้อจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวัน มากที่สุดร้อยละ 27 ปัญหากระดูกหักร้อยละ 19 และอาการเหนื่อยหอบร้อยละ 14 โดยอาการที่พบเหล่านี้ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและใช้ชีวิตของผู้ป่วย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาการที่พบในผู้สูงอายุ

เมื่อสำรวจเหตุผลผู้ป่วยที่ต้องอยู่โรงพยาบาลต่อทั้งที่พ้นการรักษาภาวะ เฉียบพลัน ร้อยละ 26.3 มาจากญาติและครอบครัวผู้ป่วยไม่มีความพร้อมในการดูแล ไม่ผู้ดูแลผู้ป่วย หรือมีแต่ผู้ดูแลไม่มีความสามารถในการดูแลที่ซับซ้อนได้ ได้แก่ การทำแผล ฉีดยา-ป้อนยา ป้องกันแผลกดทับ การให้อาหารทางสายยาง การดูแลสายสวนปัสสาวะ การดูดเสมหะ การดูแลผู้ป่วยเจาะคอ และการให้ออกซิเจน รวมไปถึงการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วย เป็นต้น โดยมีผู้ดูแล 1 ใน 3 ที่ต้องการความช่วยเหลือ นอกจากนี้ยังขาดความพร้อมของอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วย ที่พักอาศัยไม่เหมาะสม รวมไปอุปสรรคการเดินทางในการพาผู้ป่วยรักษาต่อเนื่อง 

“ผู้ป่วยเมื่อกลับบ้านแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาดูแลต่อเนื่องดีเท่าที่ควรจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน อาการทรุดลง ค่ารักษาจะสูงกว่าในครั้งแรก ดังนั้นจึงควรมีระบบบริการสุขภาพเพื่อรักษาดูแลผู้ป่วยระยะกลางที่ส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงอายุ โดยรัฐควรกำหนดเป็นนโยบาย รวมถึงปรับกลไกระบบสุขภาพเพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างเหมาะสม” ผศ.ดร.สุวิณีกล่าวว่า ขณะเดียวกันในส่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ต้องจัดระบบการจ่ายเงินของบริการดูแลระยะกลางนี้ใหม่ตามกลุ่มโรคและปัญหา สุขภาพที่ไม่ใช่โรคการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน

ด้าน ศ.นพ.สุทธิชัย จิตพันธ์กุล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในผู้ทำการวิจัย กล่าวว่า การติดตามรักษาผู้ป่วยต่อเนื่องนับเป็นปัญหาเด่นชัดในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการการดูแลในระยะกลางก่อน โดยเป็นการพยาบาลมากที่สุด รองลงมาคือกายภาพบำบัด ซึ่งบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลางนี้ควรจัดให้มีบริการในสถานพยาบาลทุกระดับ ทั้งโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป รวมไปถึงโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) แต่ที่ผ่านมายอมรับว่ามีปัญหาในด้านบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลที่เป็น อุปสรรคสำคัญ

 

http://bit.ly/OSu374

23 กรกฎาคม 2555

Next post > ผุด "อโรคยาศาล" 5 รพ.นำร่องดูแลผู้ป่วยพิการอุบัติเหตุและป่วยเรื้อรัง

< Previous post "สาธารณสุข-ศึกษาธิการ-กทม." จับมือ จัดบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ ป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด