logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

http://bit.ly/LaCLPB

กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย จับมือสร้างเครือข่ายวิจัยข้ามสถาบันรุกคืบสร้างความเข้มแข็งด้านงานวิจัย ทางคลินิก เพื่อพัฒนาวิธีการรักษาและสร้างความมั่นใจด้านคุณภาพยาให้กับประเทศ

 ศ.นพ.อาวุธ ศรีสุกรี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะเลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทย์ศาสตร์ศึกษาแห่งประเทศไทย (กสพท. – Consortium of Thai Medical Schools)   กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า กสพท. ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของโรงเรียนแพทย์ทั้ง 19 แห่งของประเทศไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้านแพทยศาสตร์ของประเทศไทย ได้ขยับตัวเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับแพทยศาสตร์ศึกษาของประเทศไทยอีก ระดับหนึ่งด้วยการจัดตั้งเครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (Medical Research Network- MedResNet) เพื่อให้อาจารย์แพทย์ในโรงเรียนแพทย์แต่ละแห่ง ได้ผลิตงานวิจัยร่วมกันได้

 
“งานวิจัยทางการแพทย์หลายอย่างต้องการกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก ในขณะที่มีเวลาทำวิจัยไม่มาก เพื่อให้สามารถสร้างผลการวิจัยที่ตอบสนองทันต่อความต้องการทางคลินิก การทำวิจัยข้ามสถาบันจะทำให้เราสามารถผลิตงานวิจัยทางคลินิกที่ได้กลุ่ม ตัวอย่างจำนวนมาก และมีความหลากหลาย เพราะกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศจะมีความต่างกันไปตามบริบท” ศ.นพ.อาวุธ กล่าว
 
เครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ศึกษา พัฒนาขึ้นมาจากเครือข่ายวิจัยสหสถาบัน (Clinical Research Collaboration Network) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2548 โดยในครั้งนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นองค์กรกลางในการทำการวิจัยทาง คลินิกร่วมกันระหว่างโรงเรียนแพทย์ การปรับตัวจากเครือข่ายวิจัยสหสถาบัน มาสู่เครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย นอกจากจะเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานวิจัยทางคลินิกระหว่างสถาบันทางการ เรียนการสอนแพทยศาสตร์ศึกษาแล้ว ยังจะเป็นการทำงานขับเคลื่อนทางนโยบายเพื่อให้ผลการวิจัยถูกนำไปใช้ในระดับ นโยบาย 
 
รศ.นพ.สุรพล เวียงนนท์ จากภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หนึ่งในนักวิจัยที่มีผลงานกับเครือข่ายวิจัยสหสถาบัน กล่าวถึงการทำงานวิจัยทางคลินิกข้ามสถาบันว่าเป็นกระบวนการทำงานที่ทำให้ ข้อมูลทางคลินิกที่สถาบันทางการแพทย์แต่ละแห่งมีอยู่ในมือ สามารถถูกนำมารวมกันเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและการ พัฒนาทางการแพทย์
 
“ประเทศไทยควรจะทำงานร่วมกัน  เพื่อให้บรรลุแนวปฏิบัติอันเดียวกัน การแข่งขขันในบางเรื่องจะทำให้เราไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ การร่วมมือกันจะทำให้เกิดการประสานงานกัน และเราจะได้ข้อมูลที่สมบูรณ์” รศ.นพ.สุรพลกล่าว
 
เครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (MedResNet) มีกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการสู่สาธารณชนพร้อมการประชุมวิชาการครั้งแรกของ เครือข่ายในประมาณปลายเดือนตุลาคมนี้ คาดว่าจะมีนักวิจัยทางการแพทย์จากโรงเรียนแพทย์ทั้ง 19 แห่ง และจากสถาบันบริการสุขภาพทั่วประเทศมากกว่า 300 คนเข้าร่วม
19 มิถุนายน 2555

Next post > ผู้ป่วยวอนรัฐเพิ่มมะเร็งในสิทธิรักษาโรค

< Previous post ยามะเร็งสุดแพงเข็มละ 7 หมื่นบาท รักษาหายใช้เงินกว่าล้าน สปส./30 บ.เข้าไม่ถึง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด