logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

http://bit.ly/L7qH1x

คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือ สปสช.มีมติเห็นชอบเก็บเงินค่ารักษาพยาบาล 30 บาท โดยใน 6 เดือนแรก จะเริ่มใช้เรียกเก็บเฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และโรงพยาบาลในระดับจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์ ก่อน

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บอร์ด สปสช. เปิดเผยว่า มติที่ประชุมบอร์ด สปสช. มีการพิจารณาเรื่องนโยบายร่วมจ่าย 30 บาท โดยให้มีการเรียกเก็บ 30 บาทเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 โดยการเรียบเก็บครั้งนี้จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข คือเรียกเก็บกรณีประชาชนไปใช้บริการ และได้รับการสั่งจ่ายยาเท่านั้น หากไม่มีการสั่งยาก็ไม่ต้องเรียกเก็บ โดยในช่วง 6 เดือนแรกนับจากเริ่มมาตรการให้มีการเรียกเก็บเฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โรงพยาบาลในระดับจังหวัด พวกโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป รวมถึงโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย ต่อมาอีก 6 เดือนหลังจากนั้นจึงจะขยายไปยังโรงพยาบาลชุมชน ก่อนจะขยายไปยังโรงพยาบาลในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั่วประเทศกลางปี 2556

สำหรับการเรียกเก็บดังกล่าวจะยกเว้นกลุ่มคนยากจน ซึ่งจะมาจากฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย และผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล โดยกลุ่มคนยกเว้นนั้นมีประมาณ 24 ล้านคนจาก 47 ล้านคนในระบบ โดยกลุ่มดังกล่าวจะเป็นไปมาตรา 5 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เช่น ผู้มีรายได้น้อยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสวัสดิการประชาชนด้านการ รักษาพยาบาล พ.ศ.2537 ผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี เด็กอายุไม่เกิน 12 ปีบริบูรณ์ ผู้พิการ พระภิกษุ สามเณร ทหารผ่านศึก ทหารเกณฑ์ เป็นต้น โดยกลุ่มเหล่านี้ไม่ต้องร่วมจ่ายดังกล่าว อีกทั้งนโยบายร่วมจ่าย 30 บาทครั้งนี้ยังครอบคลุมทุกช่วงเวลา จากเดิมจะเน้นช่วงเช้า ล่าสุด ให้มีการขยายไปยังช่วงบ่าย เพื่อความสะดวกของผู้รับบริการด้วย

ด้านนายวินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า มติที่ประชุมได้เห็นชอบให้ดำเนินการขยาย มาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยขยายครอบคลุมทุกคนทุกระบบสุขภาพของไทย ในเรื่องการปรับเพิ่มเพดานการจ่ายเงินชดเชย เป็น 2 เท่า จากเงื่อนไขเดิม คือ จากเดิมกรณีเสียชีวิตจาก 200,000 บาท เป็น 400,000 บาท และพิการจากเดิมจ่าย 120,000 บาท เป็น 240,000 บาท และติดเชื้อรุนแรงและกรณีความเสียหายอื่นๆ ปรับจาก 50,000 เป็น 100,000 บาท ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 โดยเชื่อว่ามาตรการนี้จะเป็นกลไกช่วยลดการเผชิญหน้าระหว่างผู้ป่วย และแพทย์ได้

18 มิถุนายน 2555

Next post > ยามะเร็งสุดแพงเข็มละ 7 หมื่นบาท รักษาหายใช้เงินกว่าล้าน สปส./30 บ.เข้าไม่ถึง

< Previous post แพทย์เสนอยิ่งลักษณ์สร้างความเสมอภาคมะเร็ง 3 กองทุน ชี้มะเร็งบัตรทอง/ประกันสังคมไม่ได้ยาแพง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด