logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000068362

สธ.สนองนโยบาย “นายกฯปู” ยกระดับมาตรฐานตลาดนัดที่มีกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ เพิ่มความมั่นใจประชาชน ทั้งเขตเมือง- ชนบท บริโภคอาหารปลอดภัย ราคากันเอง เล็งกำหนดให้ตลาดนัดเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ประกอบการจะต้องขึ้นทะเบียนขออนุญาต สถานที่จำหน่าย/ผู้ขายต้องสะอาด อาหารปลอดภัยจากสิ่งปนเปื้อนอย่างน้อย 4 ชนิด คือ บอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน
       
       นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งสนองนโยบายของนายกรัฐมนตรี ควบคุมคุณภาพอาหารบริโภคทุกชนิดให้ปลอดภัย ไร้สารอันตราย หรือเชื้อโรคปนเปื้อน เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย พร้อมยกระดับครัวไทยเป็นครัวโลก ที่ผ่านมา สธ.ได้จัดระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยอาหารทุกจังหวัด โดยเฉพาะสถานที่จำหน่ายที่มีโครงสร้างถาวร เช่น ตลาดสด ซึ่งเป็นแหล่งรวมวัตถุดิบประกอบอาหารของประชาชน จะต้องได้ตามเกณฑ์ มาตรฐานที่กำหนดขั้นต่ำ 3 ประการ คือ 1.สถานที่สะอาด 2.อาหารที่วางขายต้องไม่มีสารปนเปื้อนอันตรายอย่างน้อย 6 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอร์มาลิน สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง สารฟอกขาว และสารเร่งเนื้อแดง และ 3.ต้องมีการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น มีตาชั่งมาตรฐานเทียงตรง ราคายุติธรรม มีชุดตรวจสอบการปนเปื้อนทางเคมี จนถึงขณะนี้ได้รับรองมาตรฐานตลาดสดครอบคลุมไปแล้วร้อยละ 83 จากตลาดสดที่มีทั่วประเทศ 1,600 กว่าแห่ง จะเร่งให้ครบ 100% ในปีนี้

  รมช.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ยังมีนโยบายควบคุมมาตรฐานของตลาดนัด ซึ่งเป็นจุดจำหน่ายอาหารชั่วคราว และกำลังเป็นที่นิยมทั่วประเทศ มีทั้งในเขตเมืองและชนบท เนื่องจากราคาสินค้าย่อมเยา คาดว่า ทั่วประเทศจะมีตลาดประเภทนี้ทุกตำบล รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 10,000 แห่ง บางหมู่บ้านมีนัดวันเว้นวัน จึงต้องมีการดูแลคุมครองผู้บริโภคให้ได้รับอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย โดยตลาดนัดจัดว่าเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ.2535 ผู้ประกอบการตลาดนัด จะต้องขออนุญาตขึ้นทะเบียนต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต.เทศบาล ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ขณะนี้ กรมอนามัยได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานของตลาดนัดเรียบร้อยแล้ว และจะประชุมชี้แจงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้ดูแลตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ในเร็วๆ นี้ จากนั้นกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ หรือในภูมิภาค เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล ประเมินสภาพสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของตลาด โดยแบ่ง 3 ระดับ คือ ระดับพื้นฐาน ระดับดี และระดับดีมาก
       
       สำหรับมาตรฐานของตลาดนัด จะต้องผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 3 ประการ ได้แก่ 1.ความสะอาดของสถานที่ เช่น ต้องอยู่ห่างจากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ เช่น โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครกที่กำจัดขยะสิ่งปฏิกูลอย่างน้อย 100 เมตร แผงจำหน่ายอาหารต้องยกสูงกว่าพื้นไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือให้เพียงพอและถูกสุขลักษณะ ไม่จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาด หรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร ผู้ขายอาหาร และผู้ช่วยต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อไปสู่ผู้ซื้อ เช่น โรคอหิวาตกโรค บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม เป็นต้น อาหารที่ปรุงเสร็จต้องมีการปกปิด ป้องกันการปนเปื้อน 2.อาหารที่จำหน่ายต้องปลอดภัยจากสารต้องห้ามอย่างน้อย 4 ตัว ได้แก่ สารฟอร์มาลิน หรือน้ำยาดองศพ สารกันรา หรือกรดซาลิชิลิก สารบอแรกซ์ หรือน้ำประสานทอง และสารฟอกขาว และ 3.มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น ระบบตาชั่งกลาง เป็นต้น

5 มิถุนายน 2555

Next post > สธ.เล็งปรับลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานกระทรวง

< Previous post ผลวิจัยชี้ 10 ปีหลักประกันสุขภาพคนไทยดีขึ้น อัตราเกิด-ตายจากโรคลดลง

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด