logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

http://bit.ly/KzaGAh

ชี้เป็นผลสะท้อนจากนโยบายสาธารณสุขระดับประเทศที่เน้นสร้างนำซ่อมและมุ่ง พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน คนไทยทุกคนได้รับความคุ้มครองด้านสุขภาพ มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

 นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า จากการที่ประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตั้งแต่ปี 2545  ซึ่งในขณะนี้อยู่ในช่วงครบสิบปีและกำลังจะก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สองของระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น  หน่วยงานทางวิชาการ ทั้งจากกระทรวงสาธารณสุข  สำนักงานสถิติแห่งชาติ  สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ได้รายงานอัตราการเกิดและเสียชีวิตของประชาชนไทย     พบว่าคนไทยมีอายุขัยเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงประสิทธิผลของนโยบายด้านสาธารณสุขของไทยที่ให้ความสำคัญกับงานส่ง เสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน  จากการลดการตายก่อนวัยอันควร   การที่ประชาชนไทยทุกคน ได้รับการคุ้มครองโดยมีระบบหลักประกันสุขภาพนั้น   เป็นสิ่งเชื่อมั่นได้ว่า เมื่อยามปกติจะได้รับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และเมื่อเจ็บป่วยจะได้รับบริการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  

 
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า จากรายงานของหลายหน่วยงานพบว่า  อัตราการตายของทารกเมื่อแรกคลอดลดลง โดยในปี 2533 อัตราการตายของทารกต่อการเกิดมีชีวิต 1,000 คน คือ 38.8 คน และลดลงเรื่อยๆ ในปี 2534 เป็น 34.5 ปี 2538 เป็น 26.1 และปี 2548 เป็น 11.3 ขณะที่อัตราการตายของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ก็ลดลงเช่นกัน
 
จากปี 2545 อัตราการตายของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี อยู่ในอัตรา 11.7 ต่อการเกิดมีชีวิตต่อ 1,000 คน ลดลงเป็น 9.5 ต่อการเกิดมีชีวิต 1,000 คน ในปี 2552 อัตราการตายของมารดาต่อการเกิดมีชีวิตก็ลดลง จากปี 2545 ที่อยู่ในอัตรา 14.7 ต่อการเกิดมีชีวิต 1,000 คน ลดลงเป็น 10.7 ต่อการเกิดมีชีวิต 1,000 คน ขณะที่อัตราการตายของประชากรไทยวัยแรงงาน จาก 4.1 ต่อประชากร 1,000 คนในปี 2541 เป็น 3.2 ต่อประชากร 1,000 คน ในปี 2551 และอัตราการตายด้วยสาเหตุสำคัญของคนไทยปี 2530-2552 พบว่า โรคหัวใจ    มาลาเรีย วัณโรค อุจจาระร่วง และเอดส์ลดลงอย่างมาก ขณะที่อัตราการตายจากอุบัติเหตุมีแนวโน้มลดลง
 
เลขาธิการสปสช.กล่าวว่า   แม้ตัวชี้วัดด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยจากโรคที่ป้องกันได้จะดีขึ้นในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมาปัญหาสาธารณสุขที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยน ไปยังเป็นปัญหาท้าทายระบบสาธารณสุของประเทศไทยที่สปสช.จะต้องให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น
5 มิถุนายน 2555

Next post > สธ.เล็งประกาศ “ตลาดนัด” เป็นกิจการอันตรายต่อสุขภาพ

< Previous post สธ.ลุยจับร้านขายเหล้างานบุญบั้งไฟ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด