logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000066058

พบเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น ผู้เชี่ยวชาญชี้เฉพาะยาฆ่าเชื้อปอดอักเสบ เลือดเป็นพิษพบดื้อ 80% ถึงขั้นวิกฤต สวรส.เล็งถกแนวทางควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่ม ด้าน ศิริราช ศึกษาพบไก่สดแพ็กขายกว่า 56% ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียก่อโรค เผย 40% เป็นเชื้อดื้อยา จี้รัฐคุมเข้ม หวั่นประชาชนรับเชื้อ
       
       วันนี้ (29 พ.ค.) ศ.นพ.วิษณุ ธรรมลิขิตกุล อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะประธานคณะกรรมการวิจัยและพัฒนาระบบการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้าน จุลชีพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวภายหลังการประชุม “เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ:ภาวะวิกฤตต่อสุขภาพคนไทย” ที่ โรงแรมสยามซิตี้ กทม.ว่า ยาปฏิชีวนะ เป็นยาฆ่าเชื้อโรคที่มีความจำเป็นและช่วยชีวิตคนได้มาก แต่ด้วยการใช้ที่มากขึ้นและเกินความจำเป็น ขาดการควบคุมที่ถูกต้อง ทำให้ช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา พบเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะมากขึ้น และดื้อต่อยาหลายขนาน โดยพบว่า คนไทยมีอาการติดเชื้อดื้อยากลุ่มนี้ถึง 100,000 คน อยู่โรงพยาบาลนานขึ้นมากกว่า 1 ล้านวัน และพบว่า เสียชีวิตมากกว่า 30,000 ราย โดยทั้งหมดล้วนมาจากการใช้ยาเกินความจำเป็น สามารถหาซื้อได้ง่าย เห็นได้จากมูลค่าการผลิตและนำเข้ายากลุ่มนี้สูงถึง 10,000 ล้านบาททีเดียว อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า เชื้อดื้อยาที่พบบ่อยในคนไทย ซึ่งพบได้ทั้งในโรงพยาบาล (รพ.) และนอก รพ.หรือในชุมชนนั้น พบว่า เชื้อดื้อยาที่พบมากใน รพ.คือ เชื้ออะซินีโตแบคเตอร์ บอมานีไอ หรือ เอ บอม (Acinetobacter baumannii) ซึ่งเป็นเชื้อก่อให้เกิดติดเชื้อในกระแสเลือด โลหิตเป็นพิษ ปอดอักเสบ ซึ่งเดิมทีใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มคาร์บาพีแนมส์ (Carbapenems) ซึ่งเป็นกลุ่มยาด่านสุดท้ายที่ใช้ฆ่าเชื้อดื้อยา แต่ 10ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2543-2554 พบว่า เชื้อกลุ่มนี้ดื้อต่อยาปฏิชีวนะกลุ่มคาร์บาพีแนมส์ถึงร้อยละ 80 แล้ว

ศ.นพ.วิษณุ กล่าวอีกว่า เมื่อมีการดื้อคาร์บาพีแนมส์มากขึ้น ทำให้มีเชื้อฝีหนอง หรือ สแตฟ ออเรียส (Staph aureus) รวมทั้งเชื้ออีโคไล (E.coli) พบได้ทั้งใน รพ.และในชุมชน โดยเชื้อนี้ทำให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อในช่องท้อง การติดเชื้อในกระแสเลือด มีการดื้อยามากขึ้นเช่นกัน เห็นได้ว่า หากไม่ดำเนินการอะไรจะยิ่งเป็นปัญหายิ่งขึ้น สุดท้ายอาจไม่มียาใช้อีก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จึงอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลวิชาการ และทำเป็นคำแนะนำในการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยจะเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อให้มีการพิจารณาว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ สปสช.อาจเพิ่มเงินจากเหมาจ่ายรายหัวให้กับ รพ.ที่มีการดำเนินการควบคุมการใช้ยาตัวนี้ รวมทั้งมีมาตรการควบคุมการติดเชื้อที่ดี นอก จากนี้ จะมีการหารือกับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) เกี่ยวกับการเพิ่มเกณฑ์คุณภาพสถานพยาบาล หรือค่า HA โดยให้มีแนวทางการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะด้วย คาดว่า ทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในปีนี้

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการ สวรส.กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ มีข้อเสนอว่าควรห้ามขายยากลุ่มนี้ในร้านขายยาหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ต้องพิจารณาหลายด้าน เพราะการเข้าถึงยาใน รพ.อาจไม่ทั้งหมด ยาบางชนิดก็ยังต้องมีการซื้อหาเอง แต่ปัญหาอยู่ที่การควบคุม โดยอาจต้องพิจารณาว่าควรอนุญาตให้ขายในร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำเต็มเวลา หรือไม่ เรื่องนี้ต้องหารือก่อนเสนอรัฐบาล
       
       นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางการวิจัยและพัฒนาระบบยา สวรส.กล่าวว่า สำหรับ แนวทางการป้องกันเชื้อดื้อยามี 3 เรื่องหลัก คือ 1.ต้องควบคุมการติดเชื้อในคนและในสัตว์ เพราะหากคุมได้ก็จะไม่มีปัญหาต้องทานยาฆ่าเชื้อก็จะไม่ดื้อยา 2.ต้องควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะให้ใช้เท่าที่จำเป็น ยิ่งใช้น้อยโอกาสดื้อยาก็จะน้อย เช่น หากเป็นไข้หวัดธรรมดาไม่จำเป็นต้องทานยา พักผ่อนก็จะหายได้เอง 3. ควรควบคุมการดื้อยาในสัตว์ด้วย เนื่องจากหากสัตว์ติดเชื้อ และคนบริโภคเข้าไปย่อมส่งผลให้ติดเชื้อได้ รวมทั้งหากสัตว์ พวกหมู เนื้อไก่ เนื้อวัวมีเชื้อดื้อยาจะกระทบการส่งออกด้วย
       
       ขณะที่ ผศ.ดร.นพ.ชาญวิทย์ ตรีพุทธรัตน์ ผู้ ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการศึกษาของภาควิชาจุลชีววิทยา ด้วยการตรวจสอบเนื้อไก่สดที่แพ็กขายในซูเปอร์มาร์เก็ต พื้นที่ใกล้เคียง รพ.ศิริราช ในตัวอย่าง 200 แพ็ก โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิด คือ เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ในลำไส้ใหญ่ของคนทั่วไป แต่บางตัวก่อโรคได้ อาทิ โรคอุจจาระร่วง และ ซัลโมเนลลา เอนเตอโรติก้า (Salmonella enteritica ) ผลการศึกษา พบว่า มีการปนเปื้อนเชื้อดังกล่าวเกินค่ามาตรฐานอยู่ที่ 500 ตัว ต่อ 25 กรัมของเนื้อสัตว์ ถึง 56.7% หากแยกเป็นรายเชื้อ ปนเปื้อนเชื้อเอสเชอริเชีย โคไล 53% และซัลโมเนลลา เอนเตอโรติก้า 18.7% ที่น่าห่วงคือ พบเป็นเชื้อดื้อยาถึง 40% ซึ่งอาจจะทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับเชื้อแบบไม่รู้ตัว รัฐจึงต้องเร่งคุมเข้มมาตรฐานด้วย

30 พฤษภาคม 2555

Next post > กรมจิตฯ ปัดไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แจกนมเด็ก !

< Previous post Alcohol and drug problems would be categorized differently in revised manual

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด