logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

หมอเตือน “หนูนา-หนูท่อ” นำ 7 โรคสำคัญสู่คนได้ มี 3 กลุ่มเสี่ยงติดโรค

http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=44239

               จากกรณีที่มีชาวกัมพูชาจากฝั่งปอยเปต นำหนูนา หนูท่อหรือหนูบ้านจากฝั่งกัมพูชา มาชำแหละ และส่งมาจำหน่ายให้พ่อค้าแม่ค้าชาวไทยที่ตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และส่งไปขายในจังหวัดต่างๆ เพื่อนำไปประกอบอาหาร เช่น แกงป่า หนูนาย่าง โดยมียอดสั่งซื้อวันละประมาณ 3 ตัน นั้น

ความคืบหน้าในเรื่องนี้ นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า โดยทั่วไป หนูนาจัดว่าเป็นหนูที่ค่อนข้างสะอาด เพราะกินพืช โดยเฉพาะข้าวหรือหอยเชอรี่สด ปูนาสดเป็นอาหาร ซึ่งคนไทยบางพื้นที่นิยมนำมาบริโภคกัน และมีจำหน่ายตามเส้นทางในต่างจังหวัด แต่หนูที่ไม่ควรนำมาเป็นอาหารคือหนูท่อ ซึ่งเป็นหนูที่อยู่ในเมือง ตามตลาดสด หนูชนิดนี้จะกินอาหารสกปรก ของเน่าเสีย อาศัยอยู่ในท่อระบายน้ำ หนูชนิดนี้มีกลิ่นเหม็นเน่า เหม็นสาบติดตามตัว และหนูประเภทนี้ควรกำจัดทิ้ง เนื่องจากนำโรคหลายอย่างและแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก         

แต่อย่างไรก็ตามหนูทุกชนิด จัดเป็นสัตว์ฟันแทะ ทั้งหนูนา หนูป่า หนูภูเขา หนูบ้าน หนูท่อ สามารถนำโรคสำคัญอย่างน้อย 7 โรคมาติดคนได้ ได้แก่ โรคฉี่หนู โรคสครัปไทฟัส โรคมิวรีนไทฟัส พยาธิตืดหนู พยาธิปอดหนูหรือที่เรียกกันว่าพยาธิหอยโข่ง กาฬโรค และโรคที่มีโอกาสน้อยมากที่หนูจะนำมาสู่คนคือโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าจากการถูกหนูกัด มีแต่รายงานตายจากถูกสุนัขกัด

นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวต่อว่า กรณีที่มีการนำหนูท่อหรือหนูที่อยู่ในเมืองมาชำแหละขายและมีผู้รับประทานไปแล้วนั้น ไม่ต้องตกใจ ถ้าบริโภคสุกสนิทมากๆ 100 เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่เป็นอันตราย แต่ไม่ควรรับประทาน

ทางด้านนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคกล่าวว่า ผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อโรคจากหนูมี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้ที่จับหนู อาจถูกหนูกัด หรือหนูฉี่รด 2.ผู้ชำแหละหนู อาจสัมผัสเชื้อจากเลือดหนูและฉี่ของหนู และ3.คนกินหนู หากกินสุกๆดิบๆ ก็จะได้รับเชื้อและพยาธิที่อยู่ในหนูได้ ดังนั้นวิธีการป้องกันโรคจากหนู ผู้จับหนูต้องไม่มีแผลหรือรอยถลอกที่มือหรือที่เท้า เพราะเชื้อโรคจากหนูจะเข้าไปตามรอยแผลได้ หากถูกหนูกัด ให้รีบล้างแผลด้วยน้ำและฟอกสบู่ให้สะอาด เช็ดแผลให้แห้ง และใส่ยารักษาแผลสด และปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก รวมทั้งให้สังเกตอาการของตนเอง หากไม่สบาย เช่นมีไข้ หรือมีอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ ส่วนผู้ที่ชำแหละหนู ให้สวมถุงมือขณะชำแหละ อย่าใช้มือเปล่าเนื่องจากอาจโดนเลือด หรือฉี่หนู และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายได้ และให้อาบน้ำชำระร่างกาย ล้างมือล้างเท้า เปลี่ยนเสื้อผ้าให้สะอาดทุกครั้งหลังจับหนูหรือชำแหละหนู

สำหรับคนที่ชื่นชอบรับประทานเนื้อหนู ต้องรับประทานสุกจะปลอดภัย เนื่องจากความร้อนจะทำลายเชื้อโรคได้และให้กินเฉพาะเนื้อหนูเท่านั้น ไม่กินเครื่องในหนู เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคอย่างดี ทั้งนี้ในการสังเกตความแตกต่างหนูท่อกับหนูนา สามารถดูได้ที่ 2 ตำแหน่งคือที่เท้าหลังและหาง หากเป็นหนูนา เท้าหลังและหางจะมีสีดำ ส่วนหนูท่อเท้าหลังจะขาว สีหางด้านบนตั้งแต่โคลนจรดปลายหางจะมีสีดำ ส่วนใต้ท้องหางจะเป็นสีขาวหรือขาวหม่น สกปรก โดยหนูท่อจะมีกลิ่นเน่าสาบจากท่อและอาหารเน่าที่หนูกิน ส่วนหนูนาจะไม่มีกลิ่นสาบเน่า
 

19 มกราคม 2555

Next post > สธ.พัฒนารพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ เป็นศูนย์รักษาโรคนิ่ว กระดูกและข้อ โรคไต ในอีสานเหนือ

< Previous post HITAP และหน่วยงานร่วมวิจัย จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นการพัฒนานโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด