logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
แถลงข่าว “การป้องกันมะเร็งปากมดลูก”

แถลงข่าว “การป้องกันมะเร็งปากมดลูก”

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2551 เวลา 10.30-12.00 น. ณ ห้องประชุม กินรี 1 ชั้น 1 โรงแรม Amari Airport ดอนเมือง สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ร่วมจัดเวทีเสวนาและแถลงข่าว “มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ แค่ใส่ใจตรวจคัดกรอง” พร้อมจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก และสาธิตการตรวจคัดกรองด้วยวิธี VIA หรือการใช้กรดน้ำส้มสายชูเจือจางป้ายที่ปากมดลูก ซึ่งสามารถทราบผลได้ภายใน 5 นาที
โดยได้รับเกียรติจากนพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการประกันสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และดร.นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ เป็นผู้แถลงข่าว และคุณศรีสุภางค์ ธรรมาวุธ เป็นผู้ดำเนินรายการ
งานนี้เราได้มีโอกาสสื่อสารกับประชาชนผ่านสื่อมวลชน เกี่ยวกับข้อเท็จจริงรวมถึงข้อจำกัดของวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก พร้อมทั้งแนะนำให้ประชาชนทำการตรวจคัดกรองเพื่อหาภาวะความผิดปกติของเยื่อบุปากมดลูกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดี มีการยืนยันที่ชัดเจน และที่สำคัญคือมีต้นทุนต่ำ ประมาณ 300 บาทต่อคนเท่านั้น เทียบกับวัคซีนที่มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 12,000 บาทต่อคน
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่ายินดีว่าหลังจากการแถลงข่าวในวันนั้น นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็มีนโยบายให้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกฟรีกับผู้หญิงไทยอายุ 35 ปีขึ้นไป ในสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ เป็นเวลา 116 วัน นับตั้งแต่วันแม่ถึงวันพ่อ ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการตอบสนองเชิงนโยบายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ด้วยวิธีที่คุ้มค่าและประหยัดงบประมาณของประเทศ และในท้ายที่สุดเราหวังว่านโยบายระยะสั้นดังกล่าว จะสามารถพัฒนาต่อไปจนกลายเป็นนโยบายระยะยาวได้ในที่สุด เพื่อให้ผู้หญิงไทยห่างไกลจากโรคมะเร็งปากมดลูกที่เป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับต้นๆ ของประเทศในปัจจุบัน

29 กันยายน 2551

Next post > จัดประชุมพิจารณาข้อบ่งชี้ในกลุ่มนักวิจัย

< Previous post นักวิจัยโครงการ “พัฒนายุทธศาสตร์และนโยบายสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก” นำเสนอผลงานวิจัยในการประชุม สปสช.

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด