logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.แนะผู้ประสบภัยพูดคุยระบายความเครียด อย่าดื่มเหล้า ชี้เสี่ยงอันตราย

http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=40908

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข แนะผู้ประสบภัยน้ำท่วมดูแลตนเองให้แข็งแรง พูดคุยกับผู้อื่น หรือร้องไห้ เพื่อระบายความเครียดทิ้งไป ไม่ให้สะสม และอย่าดื่มเหล้า เพราะช่วยคลายทุกข์ไม่ได้ และเพิ่มความเสี่ยงจมน้ำเสียชีวิตได้ เผยผลออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลจิตใจใน23 จังหวัดประสบภัย พบผู้มีความเครียด 20,317 ราย ในจำนวนนี้ร้อยละ 5 เครียดจัด และพบผู้มีอาการซึมเศร้า 1,644 ราย และเสี่ยงฆ่าตัวตาย 276 ราย

วันนี้ (17 กันยายน 2554) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดอุดรธานี โดยเยี่ยมเยียนผู้ประสบภัยที่อบต.หมูมุ่น และอบต.กุดสระ อ.เมือง และมอบยาสามัญประจำบ้านเพื่อใช้ดูแลสุขภาพเบื้องต้นระหว่างประสบภัย

นายต่อพงษ์กล่าวว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมใน 23 จังหวัด ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับผลกระทบทั้งสุขภาพกายและจิตใจ ที่น่าห่วงคือด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังกินระยะเวลายาวนาน หรือเกิดภาวะดินโคลนถล่ม เกิดความเสียหายรุนแรง เช่นที่อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 7 ราย ประชาชนมีความเครียดสูง หากไม่ได้รับการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ทันท่วงที อาจคิดสั้น ฆ่าตัวตายได้

“ขอให้ผู้ประสบภัยพยายามปรับตัวปรับใจยอมรับความจริงให้ได้ ปล่อยวางกับสิ่งที่สูญเสียไป เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ เป็นเรื่องของภัยพิบัติจากธรรมชาติ ใครห้ามไม่ได้ และไม่ได้เกิดกับเราคนเดียว ขอให้คิดเชิงบวก มองอนาคตข้างหน้าด้วยความหวัง ต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง พยายามนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และพูดคุยกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้าน เพื่อระบายความเครียดออกไป หากรู้สึกเศร้าอยากร้องไห้ ให้ร้องออกมา การร้องไห้เป็นการระบายทุกข์ได้อย่างหนึ่ง อย่าเก็บกดความรู้สึกไว้” นายต่อพงษ์กล่าว

นายต่อพงษ์กล่าวต่อไปว่า หากเครียด วิตกกังวลมาก รู้สึกสับสน มึนงง นอนไม่หลับเศร้ามาก อย่าดื่มเหล้าเพื่อคลายเครียด เพราะมีอันตรายไม่ได้ช่วยลดเครียด และอาจเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิตได้ ขอให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและให้การดูแลอย่างถูกต้อง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรง เป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้ โดยได้ให้กรมสุขภาพจิตร่วมกับทีมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ออกหน่วยแพทย์ช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม คัดกรองความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย รวมทั้งเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้สูญเสียทุกราย ซึ่งมี 92 ครอบครัว

ผลการออกหน่วยใน 23 จังหวัดที่ประสบภัย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – 16 กันยายน 2554 ตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตจำนวน 29,126 ราย พบผู้มีความเครียด 20,317 ราย ในจำนวนนี้ 978 ราย หรือ ร้อยละ 5 มีความเครียดสูง พบผู้ที่มีอาการซึมเศร้า 1,644 ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย 276 ราย และเยี่ยมเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิตไปแล้ว 51 ครอบครัว

19 กันยายน 2554

Next post > HITAP นำเสนอผลงานวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินประจำปี 2554

< Previous post สธ.สร้างทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล นำร่อง 2,000 ทีม เน้น 3 เร็ว

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด