logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.เร่งเดินหน้าตั้งศูนย์สาธารณสุขชุมชนเขตเมืองใน 76 จังหวัด

ลดความแออัดคนป่วยในโรงพยาบาลขนาดใหญ่

http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=40752

         วันนี้ (12 กันยายน 2554) ที่โรงแรมเจริญโอเต็ล  จังหวัดอุดรธานี นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดประชุมวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพระบบบริการของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ประจำปี 2554 จัดโดยชมรมโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป  โดยมีผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และสมาชิกชมรมฯจากทั่วประเทศร่วมประชุมกว่า 1,000 คน 

         นายต่อพงษ์ กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งรัดพัฒนาบริการสาธารณสุขทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ  โดยจะเร่งลดปัญหาความแออัดผู้ป่วย ที่แผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ใน  76 จังหวัด  ประกอบด้วยโรงพยาบาลศูนย์  25 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไปจำนวน 70 แห่ง พร้อมกับกระจายงานลงโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โดยนำระบบไอที ระบบอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงงานบริการรักษาถึงกัน เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ผู้เจ็บป่วย ได้รับการดูแลรักษาใกล้บ้าน ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน 

         สำหรับการลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั้ง 95 แห่ง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทาง ผู้เชี่ยวชาญครบทุกสาขา มีเครื่องมือแพทย์ชั้นสูง มักตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง ซึ่งเป็นศูนย์รวมความเจริญของจังหวัด จุดที่แออัดที่สุดคือแผนกผู้ป่วยนอก แต่ละแห่งมีผู้ป่วยทุกประเภทใช้บริการเฉลี่ยวันละกว่า 2,000 คน ทำให้ผู้ป่วยต้องรอคิวนาน ได้รับบริการช้า ก่อให้เกิดปัญหาร้องเรียนบ่อยที่สุด เนื่องจากแพทย์ พยาบาล มีเวลาดูแลผู้ป่วยจำกัด งานล้นมือ และมีความเครียด น่าเห็นใจมาก ก็จะมีการลงทุนตั้งศูนย์สาธารณสุขชุมชนเขตเมือง ในเบื้องต้นจะเพิ่มแห่งละ 2-3 จุด จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น  ทำหน้าที่เป็นแผนกโอพีดีหรือแผนกผู้ป่วยนอกแทน จัดกำลังแพทย์ เจ้าหน้าที่ ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอก มาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น หากมีอาการหนัก จะส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่ ก็จะเป็นการลดภาระแพทย์ พยาบาลในโรงพยาบาลใหญ่ สามารถทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหนัก อาการรุนแรงซับซ้อนได้อย่างเต็มที่ และมีเวลาศึกษาวิจัยพัฒนาบริการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีก เป็นผลดีต่อประชาชนโดยตรง ได้รับการรักษาใกล้บ้าน

        ด้าน นายแพทย์พิชาติ ดลเฉลิมยุทธนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี กล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ได้พัฒนาให้เป็นศูนย์เชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง  โรคหัวใจ อุบัติเหตุ และทารกแรกเกิด ของเขตภาคอีสานตอนบน ซึ่งมี 5 จังหวัดได้แก่ อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย และบึงกาฬ  ต่อวันมีผู้มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกจำนวนมาก เฉลี่ย 2,500-3,000 ราย ในปีนี้ได้ตั้งศูนย์สาธารณสุขชุมชนเขตเมือง ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี เพื่อตรวจรักษาผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มาตามแพทย์นัด รวม 6 ศูนย์ แต่ละศูนย์จัด แพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุขและบุคลากรทางการแพทย์รวม 12 คน  ผู้ป่วยรายใดที่อาการรุนแรง จำเป็นต้องรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะใช้ระบบการส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลใหญ่  ใช้งบลงทุนแห่งละประมาณ1-2 ล้านบาท เริ่มเปิดบริการตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2554

13 กันยายน 2554

Next post > “วิทยา” สั่งกรมแพทย์แผนไทยฯ ผลิตยาสมุนไพร ยาหม่องสูตรพิเศษ ช่วยน้ำท่วม

< Previous post “ขอนแก่นโมเดล” ผ่าวิกฤตต้อกระจกติดเชื้อ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด