logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ.เผยยอดผู้เจ็บป่วยจากน้ำท่วม 15,000 ราย เครียดจัด ต้องดูแลพิเศษ 52 ราย

พร้อมเปิด สายด่วนบริการด้านสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง

http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=40090

กระทรวงสาธารณสุข เผยผลกระทบน้ำท่วมจากอิทธิพลพายุนกเตน 17 วัน มีผู้เจ็บป่วยกว่า 15,000 ราย  เสียชีวิต 26 ราย สูญหาย 1 ราย มีผู้ประสบภัยมีอาการเครียดจัด ต้องติดติดตามดูแลเป็นพิเศษ 52 ราย และเปิดสายด่วนสุขภาพจิตหมายเลข 1323 ให้บริการปรึกษาปัญหาคลายเครียดฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนสถานบริการสาธารณสุขถูกน้ำท่วมทั้งหมด 19 แห่งใน 4 จังหวัด ขณะนี้เปิดให้บริการทุกแห่ง


            นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าสถานการณ์น้ำท่วม ที่เกิดจากพายุนกเตน ว่าในรอบ 17 วันหลังน้ำท่วม กระทรวงสาธารณสุขได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งทางเรือ และทางรถยนต์ออกให้บริการผู้ประสบภัยจำนวน 120 ทีม มีผู้เจ็บป่วยกว่า 15,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด โรคผิวหนัง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 12 ราย อยู่ที่ จ.แม่ฮ่องสอนทั้งหมด ไม่มีโรคระบาดทุกพื้นที่ มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 26 ราย ใน 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ 2 ราย สุโขทัย 4 ราย สกลนคร 2 ราย อุดรธานี เพชรบูรณ์     จังหวัดละ 1 ราย นครพนม 3 ราย แม่ฮ่องสอน 7 ราย สูญหาย 1 ราย และ แพร่ 6 ราย 


 ส่วนการดูแลด้านจิตใจ กรมสุขภาพจิตได้ร่วมกับสำนักงานสาธรณสุขจังหวัดประเมินปัญหาสุขภาพจิตผู้ประสบภัยใน อ.เมือง จ.ลำพูน อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย  และที่ ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย รวมทั้งหมด 748 ราย  พบมีความเครียดสูง 51 ราย ซึมเศร้า 99 ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย 22 ราย ทั้งหมดนี้ต้องติดตามดูแลเป็นพิเศษรวม  52 ราย เพื่อป้องกันฆ่าตัวตาย

          นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า ผลจากน้ำท่วมครั้งนี้ มีสถานบริการสาธารณสุขถูกน้ำท่วมทั้งหมด 19 แห่ง ใน 4 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ 9 แห่ง สุโขทัย 4 แห่ง ลำพูน 2 แห่ง แพร่ 4 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ขณะนี้ระดับน้ำลดลงสามารถเปิดบริการได้ตามปกติ สำหรับการเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมในจังหวัดภาคกลางลุ่มเจ้าพระยา ได้ให้สถานบริการทุกแห่งป้องกันน้ำท่วมอย่างเต็มที่ เช่น ที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้จัดเรือและเสื้อชูชีพสำรองพร้อมใช้งานตลอดเวลา จำนวน 20 ลำ ขณะนี้ยังไม่มีสถานบริการแห่งใดถูกน้ำท่วม

          ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดส่งยาชุดช่วยเหลือน้ำท่วม ไปให้พื้นที่ประสบภัยทั้งหมด 18 จังหวัด รวมทั้งหมด 141,000 ชุด

11 สิงหาคม 2554

Next post > สธ.เปิดสายด่วน 1323 และ 1667 บริการปรึกษา คลายเครียดประชาชนฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

< Previous post กรมควบคุมโรคประกาศร่วมเป็นภาคีเครือข่ายมุ่งสู่คุณภาพการดูแลด้านเอชไอวี

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด