logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
การประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “การจัดทำข้อเสนอด้านการบริหารจัดการในการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า“

การประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง

“การจัดทำข้อเสนอด้านการบริหารจัดการในการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”

        เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2554 ณ ห้องประชุม HITAP ภญ.พัทธรา ลีฬหวรงค์ และ ภก.สุรชัย โกติรัมย์ นักวิจัยหลัก พร้อมด้วยนักวิจัยร่วมในโครงการวิจัย เรื่อง “การศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในการรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยให้บริการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด เช่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เป็นต้น เพื่อจัดทำข้อเสนอด้านการบริหารจัดการในการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดภายใต้การบริหารจัดการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมผู้บริหารจากสำนักนโยบายและแผน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เข้าร่วมประชุมด้วย

        โดยสรุปที่ประชุมมีมติเห็นควรให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการปลูกถ่ายฯ อยู่ในปัจจุบันช่วย สปสช. ในด้านวิชาการ โดยสปสช. จะรับเอาข้อมูลด้านวิชาการนี้เข้าไปหารือในคณะกรรมการของ สปสช. ว่าควรมีหลักเกณฑ์และการบริหารจัดการอย่างไรจึงจะมีความเหมาะสมมากที่สุดในการบรรจุบริการปลูกถ่ายฯ ไว้ในชุดสิทธิประโยชน์ของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการปลูกถ่ายฯ สามารถเข้าถึงบริการนี้ได้มากขึ้นในอนาคต

9 สิงหาคม 2554

Next post > สธ.ขยายศูนย์ปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 5 แห่ง นำร่องที่อุบลแห่งแรก

< Previous post ประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “การประเมินความคุ้มค่าของการให้บริการตรวจคัดกรอง HLA-B*1502 เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด Steven Johnson Syndromes/Toxin Epidermal Necrolysis (SJS/TEN) จากยา carbamazepine หรือ phenytoin”

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

ข่าวสาร HITAP ล่าสุด