logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP

สธ. ส่งหน่วยจิตวิทยาพิเศษ เยียวยาใจครอบครัวผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วม 181รายใกล้ชิด

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=34770

วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2553) ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและคณะ เดินทางไปตรวจเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย ดินโคลนถล่ม เยี่ยมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ มอบของช่วยเหลือและเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ ที่สถานีอนามัยบ้านบางคู ต.ควนทอง อ.ขนอม สถานีอนามัยบ้านเขาฝ้าย ต.ทุ่งใส   อ.สิชล ที่โรงพยาบาลสิชล และสถานีอนามัยบ้านปากนคร ต.ท่าไร่ อ.เมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  
ดร.พรรณสิริ กล่าวว่า ผลกระทบจากอุทกภัย วาตภัยในครั้งนี้ มีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 6 ล้านคน ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข นอกจากจะให้การดูแลผู้เจ็บป่วยทางกายซึ่งได้ให้บริการดูแลรักษาไปแล้วกว่า 5 แสนคน ยังให้การดูแลถึงจิตใจ  ขณะนี้พบผู้ประสบภัยมีความเครียด 4,578 ราย ต้องติดตามอาการใกล้ชิด 476 ราย เนื่องจากกลุ่มนี้หากไม่ได้รับการดูแลอาจพัฒนาไปสู่อาการซึมเศร้า และทำร้ายตัวเองได้ ซึ่งในช่วงหลังน้ำลดนี้อาจจะพบปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น เนื่องจากประชาชนเห็นความสูญเสียชัดเจน


ในระยะเร่งด่วนนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดบริการพิเศษให้การดูแลผู้ที่มีความสูญเสียมาก  ประกอบด้วย 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือมีคนในครอบครัวเสียชีวิต ซึ่งจากการสอบสวนสาเหตุการตายจากน้ำท่วมพบมี 181 ราย เฉพาะภาคใต้ 55 ราย โดยส่งทีมนักจิตวิทยา จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักสังคมสงเคราะห์ จากโรงพยาบาลจิตเวช 17 แห่ง และศูนย์สุขภาพจิต 15 แห่ง ไปให้การดูแลถึงครอบครัว โดยจะทำการประเมินระดับความเครียดในกลุ่มญาติของผู้เสียชีวิต เพื่อให้การดูแลอย่างต่อเนื่องร่วมกับพื้นที่ บางรายอาจใช้ยาคลายเครียดร่วมด้วย โดยจะทยอยเยี่ยมจนครบทุกราย ได้เริ่มดำเนินการแล้วที่ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา พบว่ามีความเครียดในระดับปานกลาง คือ มีความวิตกกังวล ย้ำคิด ย้ำทำ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว


และกลุ่มที่ 2 คือผู้ที่ทรัพย์สินเสียหายบ้านพังทั้งหลัง ไร้ที่อยู่อาศัย ไร่นาหรือสวนยางเสียหายรุนแรง จะประสานงานกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขึ้นทะเบียน และจัดส่งทีมดูแลเช่นกัน โดยทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าว จะมีการติดตามผลทุกสัปดาห์ และประเมินทุกเดือน จนกว่าอาการจะปกติ  ในพื้นที่ภาคใต้ จะให้รพ.สวนสราญรมย์ จ.สุราษฎร์ธานีและรพ.จิตเวชสงขลาราชนครินทร์   จ.สงขลา เป็นหน่วยงานหลัก ดำเนินการร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทุกแห่ง และศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 และ 12    


ดร.พรรณสิริกล่าวต่อไปว่า ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประสบภัยพิบัติ 23 อำเภอ 275 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 8 ราย บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 8 หลัง สถานบริการสาธารณสุขได้รับความเสียหาย 23 แห่ง เป็นสถานีอนามัย 19 แห่งทั้งหมดให้บริการได้ ความเสียหายส่วนใหญ่กระเบื้องหลังคาแตก อยู่ระหว่างการประเมิน ส่วนการดูแลประชาชนได้ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 38 ครั้ง มีผู้เจ็บป่วย 4,500 ราย ส่วนใหญ่น้ำกัดเท้า รองลงมาคือไข้หวัด         


12 พฤศจิกายน 2553

Next post > ปลัดสธ.เผยขณะนี้คนไทยเข้าโรงหมอเพราะป่วยเบาหวาน ชั่วโมงละ 64 ครั้ง ป่วยกว่า 3 ล้านคน พบในกทม.สูงสุด ชี้“เด็กอ้วน” ที่มีปื้นดำที่คอ ใต้รักแร้ ต้องระวัง!

< Previous post แบคทีเรียต้านฟันผุ

Related Posts

ข่าวที่เข้าชมมากที่สุด ในรอบ 3 เดือน

HITAP เป็นข่าว ล่าสุด